วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 

 บรรยากาศในห้องเรียน  และเนื้อหาที่เรียน

        วันนี้เรียนเกี่ยวกับการพับกระดาษให้เป็น 4 ส่วนโดยที่เราจะออกแบบการพับแบบไหนก็ได้แต่แบ่งออกเป็น 4 ส่วนที่เท่าๆกัน  การพับกระดาษของนักศึกษามีความแต่งต่างกันออกไป หลังจากที่พับกระดาษเป็น 4 ส่วนกันเสร็จทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้ชีกกระดาษออกมาเป็น 4 ส่วน แล้วเลือกแผ่นที่ดีที่สุดมา 1 แผ่น เพื่อที่จะเอามาเขียน ชื่อ นามสกุล ของตัวนักศึกษาเอง การเขียนชื่อ นามสกุลอาจารย์ให้ออกแบบการเขียนเองโดย ต้องมีคำนามหน้า เช่น นาย หรือ นางสาว โดยที่เราจะต้องแบ่งขอบกระดาษหรือช่องว่างในการเขียนให้อยู่ในระหว่างกึ่งกลาง ในระหว่างที่นักศึกษากำลังเขียนชื่อ นามสกุล อาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่า คำขวัญวันครูปีนี้ คือ อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดีมีคุณภาพ หลังจากที่นักศึกษาเขียนชื่อ นามสกุล กันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาเอารายชื่อไปติดไว้หน้ากระดานเพื่อที่จะดูการเขียนชื่อและออกแบบการเขียนชื่อว่ามีใครทำผิดกติกาไหม หลังจากที่นักศึกษาเอารายชื่อไปติดไว้หน้าห้องกันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ได้อธิบายและยกตัวอย่างคนที่เขียนผิดกติกา ใครที่เขียนผิดกติกาที่อาจารย์สั่งไว้รายชื่อนั้นก็จะโดนดึงออกมาวาง เหลือราชื่อที่เขียนถูกทั้งหมด 14 คน อาจารย์ก็ให้ตัวแทนออกลองนับว่ามีทั้งหมดกี่รายชื่อ เพราะอาจารย์จะดูการนับของนักศึกษาว่าการชี้ของนักศึกษาถูกกันไหม ถ้านักศึกษาชี้การนับไม่ถูกอาจารย์ก็อธิบายการชี้นับเลขว่าเราควรจะนับแบบไหนถึงจะเหมาะกับการสอนเด็กปฐมวัย หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายถึงการเป็นครูที่ดีให้นักศึกษาฟัง ก่อนที่เพื่อนจะออกมานำเสนอสิ่งที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ให้ การนำเสนอจะแบ่งเป็นอาทิตย์ละ 3 คน ได้แก่ 
1.บทความ 
2.วิจัย
3.โทรทัศน์ครู

1.บทความเรื่องเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
เนื้อหาที่เพื่อนมาบรรยายในวันนี้คือ คณิตศาสตร์ สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์อื่นๆโดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวนการรวมกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก เงิน และเวลา
สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล

2.วิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากสาน
เนื้อหาที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอวิจัยคือ
1.เครื่องมือ ได้แก่ แผนการจัดกิจกกรม แบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
2.การทดลอง การดเนินการวิจัยเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน กิจกรรมการสานจัดอยูในศิลปะสร้างสรรค์
3.การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลายหรืออุปกรณ์ที่เด็กไม่เคยสัมผัสมาก่อน กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน 
4. สรุป

1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกอจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม  
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุก ด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวม

3.วีดิทัศน์ เรื่อง กิจกกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
เพื่อนได้ออกมาสรุปเนื้อหา คือ กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวัน หรือ 6 กิจกรรมหลักตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีกิจกรรมดังนี้ 
1. ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ  
2. ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์) พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้ และชี้แนะแนวทางให้เด็กเล็กน้อย เน้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด 
3.ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์) เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ เด็กจึงเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ หรือการจัดลำดับใบไม้ 5 อันดับ โดยที่เด็กเป็นคนเลือกเอง และวาดรูปตามจินตนาการของเด็ก 
4.มุมคณิต (เสรี) การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ก้อนหิน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น 
5. เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง) เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ส้ม หมวก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
6.เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข

หลังจากที่เพื่อนได้ออกมาสรุป บทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครูให้ครบกันทั้ง 3 คนแล้ว อาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ หัวเรื่องคือ เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
- ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆของคณิตศาสตร์ แบ่งสาระได้ 6 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เลขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

 ความรู้ที่ได้รับ

1. การพับกระดาษให้เป็น 4 ส่วนโดยที่เราจะออกแบบการพับแบบไหนก็ได้แต่แบ่งออกเป็น 4 ส่วนที่เท่าๆกัน  การพับกระดาษของนักศึกษามีความแต่งต่างกันออกไป ให้รู้เกี่ยวกับการแบ่ง หรือ จำนวนมากกว่าน้อยกว่า
2.ได้ความรู้จากเพื่อนที่ออกมานำเสนอ บทความ วิจัย โทรทัศน์ครูให้ฟัง เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เราได้ศึกษามาให้เพื่อนๆฟัง
3.ได้ความรู้เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ของคณิตศาสตร์ว่าแบ่งออกมาเป็น 6 สาระ มากขึ้นและเราจะต้องเอาไปปฏิบัติแบบใด

ทักษะที่ได้รับ

1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การจำแนกจัดหมวดหมู่ การคิดเป็นเหตุผล 
2.ทักษะทางภาษาไทย คือ การนำความรู้ที่แลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

1.สามรถนำความรู้ที่ได้รับจการการเรียนวันนี้เอาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2.สามรถนำความรู้ที่ได้รับจากการพับกระดาษเอาไปประยุกต์ใช้กับเด็กในการเรียนการสอน

เทคนิคการสอน 

1.อาจารย์จะสอนให้ลงมือทำกิจกรรมตามที่ครูกำหนด นักศึกษาก็จะเกิดการเรียนรู้ขณะที่ทำ มีทักษะการคิดที่รวดเร็วมากขึ้น หลังจากนั้นอาจารย์จึงสรุป  ว่าได้อะไรจากการทำกิจกรรม 
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย

ประเมินผล 

ประเมินตนเอง 

     วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกรรมต่างๆอย่างตั้งใจ รับฟังการความคิดเห็นของเพื่อนๆในการตอบคำถามอาจารย์ เข้าใจเนื้อหาของรายวิชานี้มากขึ้น

ประเมินเพื่อน 

    เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน และทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์เอามาให้ทำอย่างเต็มที่ เพื่อนๆสามรถตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้

ประเมินอาจารย์  

   อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำทุกวัน และตั้งใจสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่ อาจารยอธิบายเนื้อหาต่างๆให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ นักศึกษาคนใดไม่เข้าใจอาจารย์ก็กลับมาอธิบายใหม่จนเข้าใจ





1 ความคิดเห็น: