วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2559 

(เรียนชดเชย)

บรรยากาศในห้องเรียน 
 
        วันนี้เป็นการเรียนวันสุดท้ายของเทอมนี้ วันนี้นักศึกษาและอาจารย์มาตรงต่อเวลามาพร้อมหน้าพร้อมตายิ้มแย้มกัน อาจารยืพูดคุยสนทนากับนักศึกษาก่อนที่จะเข้าเนื้อหาการเรียน วันนี้อาจารย์มีการเรียนการสอนใหม่ๆเข้ามาสอน อาจารย์นำความรู้ใหม่ๆเพื่อที่อยากจะให้นักศึกษาได้ความรู้รูปหลายแบบเพื่อเก็บนไความรู้ที่สอนไปเอาไปปรับใช้ในการสอนเด็กๆในอนาคตต่อไป วันนี้อาจารย์ให้ทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาระดมความคิดช่วยกันทำงาน วันนี้อาจารย์ย้ายมาสอนที่ห้องใหม่ ห้องใหม่สะดวกสบายโต๊ะยาวสามารถนั่งเป็นกลุ่มได้และช่วยกันทำงานได้อย่างสะดวกกว่าห้องอิ่นๆทุกๆครั้ง 
 

สาระการเรียนรู้ 
 
เนื้อหา 
ผลไม้ กล้วย เป็นธรรมชาติรอบตัว
ของเล่นของใช้ ยานพาหนะ เป็นสิ่งต่างๆรอบตัว
 เเนวคิด ของเล่นของใช้เป็นสิ่งไม่มีชีวิตอยู่รอบตัวเรา มีหลายชนิดมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป มีลักษณะรูปร่าง พื้นผิว ขนาด อาจเหมือนก็แตกต่างกันก็ได้ และต้องมีการดูแลรักษาซึ่งอาจมีประโยชน์และข้อควรระวัง
ประสบการณ์สำคัญ
ได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 
1. ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
3.ด้านสังคม
4.ด้านสติปัญญา
การบูรณาการทักษะรายวิชา
คณิตศาสตร์
- การจัดหมวดหมู่
- จำนวน
- การจับคู่
- การจำเเนก
- เวลา
- รูปร่างรูปทรง
สังคมศึกษา
- เก็บของเข้าที่
- การปฏิบัตติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ศิลประสร้างสรรค์ (กิจกรรมพิเศษ)
- การประดิษฐ์ของเล่นของใช้
- การตัดรูป เขียนคำศัพท์ของเล่นของใช้ลงในช่องว่าง
- ปั้นดินน้ำมันรูปของเล่นของใช้
ภาษา
- การฟัง ฟังนิทาน ฟังเพลง ฟังคำคล้องจอง
- การอ่าน อ่านนิทาน ร้องเพลง อ่านคำคล้องจอง
- การเขียน เขียนคำที่สัมพันธ์กับภาพ
 
ทักษะที่ได้ 
 
1.ทักษะการในการตอบคำถาม 
2.ทักษะการกำหนนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้ 
3.ทักษะการบูรณาการเรื่องคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน 
4.ทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์ตามสิ่งที่ครูสอนในชั้นเรียน 
5.ทักษะการสังเกต การใช้เหตุผล
 
การนำเอาไปประยุกต์ใช้
 
1.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
2.การที่ได้ทำกิจกรรมจากการเรียนการสอนของวันนี้สามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัย ได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
3.สามารถนำความรู้ในเรื่องของแผนการจัดประสบการณ์ องค์ประกอบต่างๆของแผน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการทำแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยบูรณาการให้ได้มากที่สุดในการทำกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่ต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในทุกๆวัน 
4.มีการวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน เด็กเข้าใจง่าย
 
เทคนิคการสอนของอาจารย์

1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
2. เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
3.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
4.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจและเพิ่มเติมสิ่งต่างๆเข้ามาเด่นชั
 
ประเมินผล 
 
 ประเมินตนเอง 
 
 นั่งเรียนด้วยความตั้งใจเรียน แต่งกานเรียบร้อย และร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน  
 
 มีความตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และช่วยกันตอบคำถามทุกครั้ง

ประเมินอาจารย์

แต่งกายสุภาพ มาตรงต่อเวลา มีวิธีการสอนที่ดีมากและสนุกสนาน และตั้งใจสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่


 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ.2559 


บรรยากาศในห้องเรียน 
  
            อาจารย์และนักศึกษาเข้าเรียนตรงต่อเวลาพร้อมที่จะเรียนในวันนี้ เพื่อนๆและอาจารย์สนทนาพูดคุยกันก่อนที่จะเข้าเนื้อหาการเรียนการสอนในวันนี้ ซึ่งในวันนี้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องออกมานำเสนอนิทานที่ไดร่างโครงร่างไว้หน้าชั้นเรียนเพื่อนำความรู้ที่เราทำมาเอามาแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับเพื่อนๆว่าแต่ล่ะกลุ่มทำแบบไหนมาบ้างเพื่อที่จะได้เอาไปปรับเปลี่ยนให้ดีกว่าเดิม
สาระการเรีนนรู้
         วันนี้เป็นการนำเสนอการทำโครงร่างนิทานที่แต่ละกลุ่มได้เตรียมมาตามหน่วยแต่ละ หน่วยของตนเอง ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยยานพาหนะ หน่วยผลไม้ ซึ่งวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของวันพุธและวันพฤหัสบดี 

 การนำเสนอนิทานของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของกล้วย
นิทานเรื่องกล้วยน้อยช่างคิด  การนำเสนอประโยชน์ของกล้วยว่ากล้วยสามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง และสามารถเอามาบูรณาการกับครณิตสาสตร์ได้อย่างไรบ้าง ประโยชน์ของกล้วยคือ ใบกล้วย สามารถนำไปทบายศรี  ทำกระทง ทำเป็นม้าก้านกล้วย และสามารถทำอะไรได้อีกมากมาย การนำมาบูรณาการกับคณิตศาสตร์ บอกรูปร่าง รูปทรง จำนวน ขนาดของกล้วย เป็นต้น




กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นของใช้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของเล่นของใช้
นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน  การนำเสนอประโยชน์ของเล่นของใช้ ช้เทคนิคการเล่าด้วยนิทานคำกลอน ในเนื้อหาเป็นเรื่องของการเล่าถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ โดยมีตัวละครที่ชื่อหนูจินเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยมีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจับคู่เข้าไปด้วย เช่น หยิบแปรงสีฟันขึ้นมาเป็นของคู่กัน หยิบเสื้อกับกระโปรงขึ้นมาเป็นของคู่กัน เป็นต้น ของเล่นเป็นของสมมติเป็นของเลียนแบบจากของใช้ ดูไปดูมาคลายๆของใช้แต่เรามีเอาไว้เล่นเพื่อความสนุกสนานและเพลิดเพลิน ของใช้เอาไว้ใช้ได้จริง ทั้งของเล่นของใช้มีประโยนข์แตกต่างกันไป




กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
นิทาน เรื่องประโยชน์ของผลไม้  ใช้เทคนิคคำคล้องจอง ในเนื้อหาจะเป็นการพูดถึงประโยชน์ของผลไม่แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์อย่างไร บ้าง เช่น ส้มมีวิตามินซีช่วยเรื่องผิวใส เป็นต้น มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ เรื่องรูปร่างรูปทรง ขนาด ที่มีลักษณะแตกต่างกัน




กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ
วันพุธ เรื่อง วิธีการดูแลรักษา
นิทาน เรื่องหมีน้อยกับรถคู่ใจ  เป็นนิทานบรรยายโดยมีตัวละคร คือ หมีน้อย คุณแม่และคุณยาย ในเนื้อหาจะเล่าถึงการดูแลรักษาการใช้ยานพาหนะก่อนจะใช้งาน เช่น การตรวจสภาพเครื่องยนต์ เช็คน้ำมัน ที่ปัดน้ำฝน ล้อรถ เป็นต้น การบูรณาการเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ในตะกร้ามีผลไม้มากมาย ให้เพื่อนๆช่วยกันนับว่าในตะกร้ามีผลไม้ทั้งหมดกี่ผล ขับรถไปบ้านคุณยายต้องเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขาว ทิศทาง และเวลา บ้านของคุณยายอยู่มุมไหน เพื่อให้เพื่อนๆช่วยกันกาว่าบ้านของคุณยายอยู่มุมไหน เป็นต้น

 


 สรุปการนำเสนอนิทานของแต่ละกลุ่ม

        อาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติม และบอกวิธีแก้ไขเพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับนิทานและหน่วยของแต่ละกลุ่ม ครูบอกถึงรายละเอียดของเนื้อเรื่องเพื่อให้แต่ล่ะกลุ่มเอาไปปรับใช้และเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายเพื่อจะให้นิทานของแต่ล่ะกลุ่มมีความสมบูรณืครบถ้วน
 
ทักษะที่ได้ 
 
1.ทักษะการในการตอบคำถาม 
2.ทักษะการกำหนนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้ 
3.ทักษะการบูรณาการเรื่องคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน 
4.ทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์ตามสิ่งที่ครูสอนในชั้นเรียน 
5.ทักษะการสังเกต การใช้เหตุผล
6.การออกแบบนิทานให้บูรณาการกับคณิตสาสตร์ 

การนำเอาไปประยุกต์ใช้

          สามารถนำความรู้จากการเรีนของวันนี้เอาไปปรับใช้ในการสอนเด็กได้ดี การฟังนิทานของแต่ละกลุ่มสามารถเอามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและบูรณาการคณิตศาสตร์ในการจัดกิจกรรมให้เด็กเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก สามารถเอาความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้เอาไปสอนเด็กได้ในอนาคต

 เทคนิคการสอนของอาจารย์

1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
2. การฟังเนื้อหานิทานของเพื่อนแต่ละกลุ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและบูรณาการกับคณิตศาสตร์
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
4.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
5.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจและเพิ่มเติมสิ่งต่างๆเข้ามาเด่นชัด

ประเมินผล

ประเมินตนเอง 

      ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย

ประเมินเพื่อน 

       เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้


ประเมินอาจารย์  

       อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ



วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559



วัพุที่ 6 2559 ยุวัจัรี 
(ไม่มีการเรียนการสอน)

 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2559 

บรรยากาศในห้องเรียน 
         วันนี้อาจารย์มาเช้าเพื่อมาเตรียมความพร้อมการสอนให้นักศึกษา ห้องเรียนไม่ค่อยพร้อมกับการเรียนการสอนเท่าไหร่  อุปกรณ์การเรียนก็ไม่สมบูรณ์เนื่องจากอุปกรณ์ไกลจากห้องเรียนที่อาจารย์มาสอนจึงมีข้อขัดข้องนิดหน่อย แต่นักศึกษาทุกคนก็ช่วยกันแก้ปัญหาได้ หลังจากที่นักศึกษามากันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็เริ่มการเรียนการสอนโดย ให้นักศึกษาจัดโต๊ะนั่งเป็นกลุ่ม เพื่อระดมความคิดและเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ต่างๆในการออกไปนำเสนอ แผนการสอนของ วันจันทร์ และวันอังคาร ตามหัวขอที่กลุ่มได้เขียนแผนไว้ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ ก่อนที่จะเข้าการเรียนการสอนอย่างจริงจังอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำหน้าที่ของตัวเองก่อนโดยนักศึกษาที่ยังไม่ได้ออกมานำเสนอ บทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู ของแต่ละอาทิตย์ต้องออกมานำเสนอก่อนเพื่อที่จะเข้าสู่การนำเสนอแผนของแต่ละกลุ่ม
นำเสนอแผนการสอนของวิจัย  โดยนายอารักษ์  ศักดิกุล
         การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็น แนวทางสําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้

 ความมุ่งหมายของการวิจัย

       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่

กลุ่มตัวอย่าง  

       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกําลัง ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน
       กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่ใช้ขนมอบประเภทต่างๆ ในการทํากิจกรรม เช่น ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําได้ตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝึกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเป็นหลัก
แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปังแผ่นแต่งหน้า
 
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 
2. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการรับรู้ประสาทสัมผัส 
3. เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู 
4. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู 
5. เพื่อให้นักเรียนได้ส่งเสริมการแสดงออก 
6. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปังแผ่นแต่งหน้า

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนาร่วมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอ่ย เป็นแผ่น  สีขาว  นิยมทานคู่กับแยม   
2. นักเรียนและครูสนทนาร่วมกัน  ดังนี้    
     2.1 ขนมปังมีลักษณะอย่างไร  มีสีอะไร    
     2.2 ขนมปังมีสีอะไร  รสชาติเป็นอย่างไร  มีใครเคยทานบ้าง    
     2.3 นักเรียนคิดว่าขนมปังทํามาจากอะไร    
     2.4 นักเรียนคิดว่าขนมปังมีประโยชน์ไหม  และมีประโยชน์อย่างไร 

ขั้นสอน  
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณ์ตามความสนใจของตนเอง 
 2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปังแผ่นรูปทรงต่างๆ แยมผลไม้  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหน้า ทา วาด เขียน เพื่อสร้างชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง  
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแล้วให้นําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไว้ที่หน้าชั้นเรียน  
4. เด็กช่วยกันเก็บของ  ทําความสะอาดให้เรียบรู้อยู่

ขั้นสรุป  
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนาร่วมกับครู  ดังนี้   
     1.1 นักเรียนใช้ขนมปังรูปทรงใดบ้างมาทํากิจกรรม   
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ต่างกัน  ต่างกันอย่างไร   
     1.3 ขนมปังของนักเรียนมีอะไรซ้อนอยู่ข้างใน   
     1.4 นักเรียนคิดว่าระหว่างแยมผลไม้ กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปัง ต่างกันหรือ เหมือนกันอย่างไรบ้าง  

สื่อการเรียน 
1. ขนมปังแผ่นรูป 
2. แยมผลไม้บรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมส้ม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอร์รี่  แยมสัปปะรด
3. เกล็ดช็อกโกแลต 
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน 
5. ผ้าพลาสติกปูโต๊ะ 
6. ถาดสําหรับใส่ขนม 

การประเมินผล 
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา 
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   


           หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอกันครบหมดทุกคนแล้ว ต่อไปจะเป็นการนำดฃเสนอแผนการสอนของวันจันทร์และวันอังคารของแต่ล่ะกลุ่ม

การนำเสนอของ กลุ่มที่ 1 กลุ่มวันจันทร์เรื่อง ยานพาหนะ


แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรม

ขั้นนำ
           1.สอนเด็กร้องเพลง ยานพาหนะ
 เพลง ยานพาหนะ
ยานพาหนะ  ยานพาหนะ
มีมากมาย  มีมากมาย
รถเครื่องบินและเรือใบ รถเครื่องบินและเรือใบ
ดูน่าชม  ดูน่าชม

         2.ใช้เพลงทดสอบความจำของเด็ก และสังเกตว่าเด็กตั้งใจฟังเพลงหรือไม่  เช่น เพลงที่เด็กๆร้อง มียานพาหนะอะไรบ้าง
          3.ใช้คำถาม ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก เช่น เด็กๆ มาโรงเรียนโดยใช้ยานพาหนะอะไร

ขั้นสอน
1.มีกล่องโรงรถใส่รูปยานพาหนะ และหยิบออกมาถามเด็กว่า นี้คือยานพาหนะอะไร
2.ให้เด็กนับว่ามีจำนวนยานพาหนะทั้งหมดเท่าไหร่
3.ให้เด็กใส่เลขฮินดูอารบิกกำกับจำนวนยานพาหนะว่าทั้งหมดเท่าไหร่
4.บอกเกณฑ์จัดสถานที่ของยานพาหนะ
5.จัดหมวดหมู่ยานพาหนะแต่ละประเภท และให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมโดยนำภาพยานพาหนะไปแปะบนสถานที่ ที่เหมาะสม
6.ทำกราฟแผนภูมิยานพาหนะที่มากที่สุด และน้อยที่สุด หรือมากกว่า น้อยกว่า นำมาเปรียบเทียบให้เด็กเห็นภาพ

ขั้นสรุป
          1.เด็กๆ รู้จักยานพาหนะอะไรบ้าง โดยแบ่งประเภททางบก ทางน้ำ ทางอากาศ


 การนำเสนอของ กลุ่มที่ 2 กลุ่มวันจันทร์ เรื่องของเล่น ของใช้
 
แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรม

ขั้นนำ เริ่มด้วยเพลงเก็บของ และเชื่อมโยงด้วยคำถาม คือ ถามเด็กๆว่า เวลาที่เด็กเล่นหรือใช้ของใช้ เด็กๆเก็บเข้าที่กันหรือเปล่า แล้วของเล่นของใช้ที่เด็กๆรู้จักหรือเคยใช้มีอะไรบ้าง 
ขั้นสอน สอนด้วยการที่ครูนำสื่อองเล่นของใช้ของจริงมาให้เด็กดู และบอกชื่อของชิ้นนั้น รู แจกของเล่นของใช้ให้เด็กคนละ 1 ชิ้น โดยให้เด็กนับไปด้วยเมื่อครูแจกคนที่ 1 ให้เด็กๆนับหนึ่ง เมื่อครูแจกคนที่สองให้เด็กๆนับสอง ไปจนถึงคนสุดท้าย แล้วครูสรุปว่าของเล่นของใช้มีทั้งหมด 15 ชิ้น และครู ให้เด็กสำรวจของเล่นของใช้ที่ตนเองได้ และให้เด็กๆแยกประเภทว่าของที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ แล้วให้เด็กนำมาวางไว้ที่ตะกร้าหน้าห้องให้ถูกต้อง  
ขั้นสรุป คือให้เด็กออกมาเสนอว่าของเล่นที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ และครูพูดสรุปว่าของเล่นของใช้มีกี่ประเภท  

 การนำเสนอของ กลุ่มที่ 3 กลุ่มวันอังคารเรื่อง ผลไม้

 แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรม
           สอนเรื่องชนิดของผลไม้ ที่ยกมาวันนี้คือผลไม้ 2 ชนิด มะยงชิด กับองุ่น ครูพูดคุยถามเด็กเกี่ยวกับผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก และให้ลองสังเกตและชิมรสชาติของผลไม้แต่ละชนิดว่ามีลักษณะและรสชาติอย่างไรบ้าง ให้สังเกต รูปทรง กลิ่น สี ส่วนประกอบ และรสชาติ ของผลไม้ และสรุปโดยการให้เด็กๆช่วยกันตอบว่าผลไม้ 2 ชนิดมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมและให้คำแนะนำ

การนำเสนอของ กลุ่มที่ 4 กลุ่มวันอังคารเรื่อง กล้วย

แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรม    
          ครูเริ่มด้วยเพลงและถามเด็กว่าในเพลง ทรงกล้วยมีลักษณะอะไรของกล้วยบ้างและนอกจากเพลงนี้ยังมีลักษณะอะไรอีกบ้าง นำกล้วยออกมาให้เด็กดูที่ละ 1 ชนิด พร้อมให้เด็กสังเกต โดยถามเด็ก เช่น เด็กๆ สังเกตเห็นสีของกล้วยทองสิว่ามีสีอะไร เป็นต้น (รูปทรง , ส่วนประกอบ , กลิ่น , รสชาติ , ขนาด) และครูต้องบันทึกสิ่งที่เด็กพูดในทันที  ครูและเด็กร่วมกันสรุป โดยใช้กล้วยหอมทองและกล้วยไข่ว่ามีอะไรที่เหมือนกัน เช่น สีเหลือง ทรงรี เปลือก เนื้อ เมล็ด หอม หวาน และความต่างกัน เช่น กล้วยหอมทองยาวและใหญ่กว่ากล้วยไข่


ทักษะที่ได้ 
1.ทักษะการในการตอบคำถาม 
2.ทักษะการกำหนนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้ 
3.ทักษะการบูรณาการเรื่องคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน 
4.ทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์ตามสิ่งที่ครูสอนในชั้นเรียน 
5.ทักษะการสังเกต 

การนำเอาไปประยุกต์ใช้

1.การที่ได้ทำกิจกรรมจากการเรียนการสอนของวันนี้สามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัย ได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริ
 
3.มีการวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน เด็กเข้าใจง่าย

เทคนิคการสอนของอาจารย์

1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
2. ให้นักศึกษาเรียนรู้จากวิดีโอ
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
4.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
5.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ

ประเมินผล

ประเมินตนเอง 

      ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย

ประเมินเพื่อน 

       เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้


ประเมินอาจารย์  

       อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจหาการเรียนการสอนใหม่ๆมาสอนนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้ตวามรู้ที่แปลกใหม่