วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ.2559 


บรรยากาศในห้องเรียน 
  
            อาจารย์และนักศึกษาเข้าเรียนตรงต่อเวลาพร้อมที่จะเรียนในวันนี้ เพื่อนๆและอาจารย์สนทนาพูดคุยกันก่อนที่จะเข้าเนื้อหาการเรียนการสอนในวันนี้ ซึ่งในวันนี้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องออกมานำเสนอนิทานที่ไดร่างโครงร่างไว้หน้าชั้นเรียนเพื่อนำความรู้ที่เราทำมาเอามาแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับเพื่อนๆว่าแต่ล่ะกลุ่มทำแบบไหนมาบ้างเพื่อที่จะได้เอาไปปรับเปลี่ยนให้ดีกว่าเดิม
สาระการเรีนนรู้
         วันนี้เป็นการนำเสนอการทำโครงร่างนิทานที่แต่ละกลุ่มได้เตรียมมาตามหน่วยแต่ละ หน่วยของตนเอง ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยยานพาหนะ หน่วยผลไม้ ซึ่งวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของวันพุธและวันพฤหัสบดี 

 การนำเสนอนิทานของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของกล้วย
นิทานเรื่องกล้วยน้อยช่างคิด  การนำเสนอประโยชน์ของกล้วยว่ากล้วยสามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง และสามารถเอามาบูรณาการกับครณิตสาสตร์ได้อย่างไรบ้าง ประโยชน์ของกล้วยคือ ใบกล้วย สามารถนำไปทบายศรี  ทำกระทง ทำเป็นม้าก้านกล้วย และสามารถทำอะไรได้อีกมากมาย การนำมาบูรณาการกับคณิตศาสตร์ บอกรูปร่าง รูปทรง จำนวน ขนาดของกล้วย เป็นต้น




กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นของใช้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของเล่นของใช้
นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน  การนำเสนอประโยชน์ของเล่นของใช้ ช้เทคนิคการเล่าด้วยนิทานคำกลอน ในเนื้อหาเป็นเรื่องของการเล่าถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ โดยมีตัวละครที่ชื่อหนูจินเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยมีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจับคู่เข้าไปด้วย เช่น หยิบแปรงสีฟันขึ้นมาเป็นของคู่กัน หยิบเสื้อกับกระโปรงขึ้นมาเป็นของคู่กัน เป็นต้น ของเล่นเป็นของสมมติเป็นของเลียนแบบจากของใช้ ดูไปดูมาคลายๆของใช้แต่เรามีเอาไว้เล่นเพื่อความสนุกสนานและเพลิดเพลิน ของใช้เอาไว้ใช้ได้จริง ทั้งของเล่นของใช้มีประโยนข์แตกต่างกันไป




กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
นิทาน เรื่องประโยชน์ของผลไม้  ใช้เทคนิคคำคล้องจอง ในเนื้อหาจะเป็นการพูดถึงประโยชน์ของผลไม่แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์อย่างไร บ้าง เช่น ส้มมีวิตามินซีช่วยเรื่องผิวใส เป็นต้น มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ เรื่องรูปร่างรูปทรง ขนาด ที่มีลักษณะแตกต่างกัน




กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ
วันพุธ เรื่อง วิธีการดูแลรักษา
นิทาน เรื่องหมีน้อยกับรถคู่ใจ  เป็นนิทานบรรยายโดยมีตัวละคร คือ หมีน้อย คุณแม่และคุณยาย ในเนื้อหาจะเล่าถึงการดูแลรักษาการใช้ยานพาหนะก่อนจะใช้งาน เช่น การตรวจสภาพเครื่องยนต์ เช็คน้ำมัน ที่ปัดน้ำฝน ล้อรถ เป็นต้น การบูรณาการเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ในตะกร้ามีผลไม้มากมาย ให้เพื่อนๆช่วยกันนับว่าในตะกร้ามีผลไม้ทั้งหมดกี่ผล ขับรถไปบ้านคุณยายต้องเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขาว ทิศทาง และเวลา บ้านของคุณยายอยู่มุมไหน เพื่อให้เพื่อนๆช่วยกันกาว่าบ้านของคุณยายอยู่มุมไหน เป็นต้น

 


 สรุปการนำเสนอนิทานของแต่ละกลุ่ม

        อาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติม และบอกวิธีแก้ไขเพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับนิทานและหน่วยของแต่ละกลุ่ม ครูบอกถึงรายละเอียดของเนื้อเรื่องเพื่อให้แต่ล่ะกลุ่มเอาไปปรับใช้และเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายเพื่อจะให้นิทานของแต่ล่ะกลุ่มมีความสมบูรณืครบถ้วน
 
ทักษะที่ได้ 
 
1.ทักษะการในการตอบคำถาม 
2.ทักษะการกำหนนดเรื่องที่สอดคล้องกับสาระที่ควรรู้ 
3.ทักษะการบูรณาการเรื่องคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน 
4.ทักษะการฟังและคิดวิเคราะห์ตามสิ่งที่ครูสอนในชั้นเรียน 
5.ทักษะการสังเกต การใช้เหตุผล
6.การออกแบบนิทานให้บูรณาการกับคณิตสาสตร์ 

การนำเอาไปประยุกต์ใช้

          สามารถนำความรู้จากการเรีนของวันนี้เอาไปปรับใช้ในการสอนเด็กได้ดี การฟังนิทานของแต่ละกลุ่มสามารถเอามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและบูรณาการคณิตศาสตร์ในการจัดกิจกรรมให้เด็กเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก สามารถเอาความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้เอาไปสอนเด็กได้ในอนาคต

 เทคนิคการสอนของอาจารย์

1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
2. การฟังเนื้อหานิทานของเพื่อนแต่ละกลุ่มเอามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและบูรณาการกับคณิตศาสตร์
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
4.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
5.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจและเพิ่มเติมสิ่งต่างๆเข้ามาเด่นชัด

ประเมินผล

ประเมินตนเอง 

      ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย

ประเมินเพื่อน 

       เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้


ประเมินอาจารย์  

       อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น