บันทึกการเรียนรู้ครั้งที 7
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
บรรยากาศในห้องเรียนและเนื้อหาการเรียน
วันนี้อากาศดีท้องฟ้าครึ้มเหมือนฝนจะตก อาจารย์ไลน์มาบอกนักศึกษาว่าวันนี้อาจจะเข้าช้าหน่อยเพราะวันนี้อาจารย์ต้องไปร่วมเปิดงานวิชาการ นักศึกษาก็มาตรงเวลาอาจจะมีบ้างคนที่มาช้าแต่ก็สายแค่ 10-15นาที นักศึกษามานั่งรออาจารย์สักพักอาจารย์ก็มา อาจารย์รีบเคลียร์ธุระเพราะกลัวนักศึกษารอนานจึงรีบเดินมาอย่างรวดเร็วด้วยษาความตั้งใจที่จะสอนนักศึก พอทุกอย่างเข้าทีอาจารย์ก็เริ่มการสอนนักศึกษาด้วยการนำไม้ลูกชิ้นขึ้นมาพร้อมแจกดินน้ำมันให้นักศึกษาคนละก้อน ไม้ลูกชิ้นที่อาจารย์ให้นักศึกษานำกลับไปตัดแบ่งเป็น 3 ส่วน เพื่อที่จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงในวันนี้ ไม้แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ไม้ยาวจำนวน 6 ไม้ ไม้กลางจำนวน 6 ไม้ ไม้สั้นจำนวน 6 ไม้ อาจารย์จะเป็นคนกำหนดให้นักศึกษาเอาไม้มาต่อกันเป็นรูปส่วนต่างๆ
กิจกรรมต่อไม้ลูกชิ้นให้เป็นรูปทรงต่างๆ
1.อาจารย์จะเป็นคนกำหนดว่าให้ต่อเป็นรูปทรงอะไร อาจารย์กำหนดต่อเป็นรูปสามเหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามจินตนาการของนักศึกษาแต่รูปต้องเป็นสามเหลี่ยมเท่านั้น
กิจกรรมต่อไม้ลูกชิ้นให้เป็นรูปทรงต่างๆ
1.อาจารย์จะเป็นคนกำหนดว่าให้ต่อเป็นรูปทรงอะไร อาจารย์กำหนดต่อเป็นรูปสามเหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามจินตนาการของนักศึกษาแต่รูปต้องเป็นสามเหลี่ยมเท่านั้น
2.หลังจากที่นักศึกษาทุกคนทำเป็นรูปสามเหลี่ยมเสร็จกันครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็กำหนดให้นักศึกษาต่อเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามจินตนาการนักศึกษา
3. หลังจากที่ต่อเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมเสร็จกันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็กำหนดโจทย์ใหม่คือ ต่อให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามจินตนาการนักศึกษา
4. ต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมกันเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ต่อเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามใจและจินตนาการของนักศึกษา แต่ระหว่างการต่อมีข้อขัดข้องคือไม้ที่จะทำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมต่างๆทำไม่พอ อาจารย์เลยให้จับคู่ 2 คน เพื่อที่จะเอาไม้มารวมกันแลช่วยกันคิด
การทำกิจกรรมการต่อไม้ลูกชิ้นจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนการวางแผนก่อนจะลงมือปฏิบัติ
1.เราคิดว่าเราจะทำรูปทรงไหนแบบไหน
2.ดูขนาดไม้ให้เท่ากัยเพื่อที่จะเอามาประกอบโครงสร้างรูปทรงต่างๆ
3.ลงมือปฏิบัติ
หลังจากที่อาจารย์ได้สอนเสร็จแล้ว ต่อไปก็คือหน้าที่ของนักศึกษาที่จะต้องออกมานำเสนอ บทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู ของแต่ละอาทิตย์
การนำเสนอบทความ นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง
บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ
บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียน
พระยาประเสริฐสุนทราศรัย
คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี
และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน
เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก
ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย
ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็น
เรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง
1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ
การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น
คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็น
เรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเองการนำเสนองานวิจัย นางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรตา
สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์คผู้จัดทำ วรินธร สิริเดชะ (2550) เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผู้ควบคุม ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง , อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์กลุ่มตัวอย่าง ที่ ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านอนุกรม
(วันนี้นางสาวภธรธร รัชนิพนธ์ ไม่สบายเลยขออนุญาติอาจารย์เพื่อที่จะนำเสนอโทรทัศน์ครูในอาทิตย์หน้า)
การนำเสนอวิจัยเพิ่มเติม ของนางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ของ ศุภนันท์ พลายแดง
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2553
การวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
ประกอบอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ที่ 34 อา เภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จา นวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกจากเด็กที่มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่า จากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จำนวน 18 แผน
2. แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ
ระยะเวลาในการทดลอง
การทดลองครั้งนี้กระทำ ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง
6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น
- กิจกรรมการประกอบอาหาร
ตัวแปรตาม
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. การเปรียบเทียบ
2. การจับคู่
3. การนับจำนวน
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .01
แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง น้าส้มคั้น
สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 1 สอนวัน พุธ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที
การเรียนคณิตศาสตร์ เด็กควรจะได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกับเปรียบเทียบ เรียงลำดับ
การวัด การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การนับก่อนที่จะเรียนเรื่องตัวเลข และวิธีคิดคำนวณ ซึ่งการจัด
กิจกรรมการประกอบอาหารในครั้งนี้นำเอาผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก คือส้ม มาใช้ในการจัดกิจกรรมซึ่ง
นอกจากเด็กๆ จะๆได้รับคุณค่าจากสารอาหารแล้ว ยังสามารถเกิดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ใน
เรื่องของการเปรียบเทียบ อันเปรียบเสมือนบันไดขั้นต้น ซึ่งช่วยเตรียมตัวให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่
ประสบการณ์พื้นฐานต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบปริมาณของน้า ส้มที่แตกต่างกันได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
เนื้อหา
1. ประโยชน์ของส้ม
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การเปรียบเทียบ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กทุกคนปิดตา และให้ชิมสิ่งที่ครูเตรียมไว้ในจานบนโต๊ะที่ละคน หลังจาก
ชิมครบทุกคนแล้ว ครูถามว่าคืออะไร เด็กช่วยกันตอบ ครูหยิบบัตรภาพและบัตรคำเฉลยส้ม
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของส้ม โดยใช้คำถามดังนี้
2.1 เด็ก ๆ คิดว่าส้มมีประโยชน์ อย่างไรบ้าง
2.2 ครูหยิบผลส้มออกมาใส่ตะกร้าให้เด็ก ๆ ช่วยนับจำนวนผลส้ม ทั้งหมดและถามว่ามีกี่ผล และส้มนอกจากจะรับประทานได้แล้วยังสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงการนำส้มมาทำน้ำส้มคั้น ครูนำวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆให้เด็กได้รู้จักและสัมผัสกันทั่ว
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหาร
การทำน้ำส้มคั้น เช่นมีข้อตกลงดังนี้
4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
4.4 ต้องเคารพกฎกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระมัดระวัง และช่วยเหลือกันและกัน
ขั้นดำเนินการ
1. เด็ก ๆ เข้าแถวรอรับอุปกรณ์ วัสดุ ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำน้ำส้มคั้น
2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะเตรียมส้มและคั้น กลุ่มที่ 2 จะรับไปปรุงแต่งรสและแจกจ่ายเพื่อนๆ เพื่อชิม โดยครูคอยให้คำแนะนา ชี้แนะ
3. เมื่อได้น้ำส้มมาแล้ว ครูเตรียมแก้วใสที่มีรูปทรงเดียวกันมาทั้งหมด 6 ใบ แล้วรินน้ำส้มใส่ในแก้ว ซึ่งจะใส่ในปริมาณที่เท่ากันเป็นคู่ ๆ จากนั้นวางสลับกัน ติดหมายเลข 1-6 ที่แก้ว
ครูให้ตัวแทนกลุ่มทั้งสองกลุ่มออกมา จับคู่แก้วที่มีปริมาณน้า ส้มเท่ากัน ทีละกลุ่ม ให้เด็กที่เหลือ
ช่วยกันเป็นกรรมการและปรบมือชื่นชมกลุ่มที่ทำได้ถูกต้อง
4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาด
บริเวณที่ทำกิจกรรม
ขั้นสรุป
1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของน้ำส้มคั้น
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง
สื่อการเรียนรู้
1. ภาพส้ม
2. บัตรคำ ส้ม ป้ายตัวเลข 1-6
3. ผลส้ม
4. แก้วใส 6 ใบ และ อุปกรณ์ ส่วนผสมในการทา น้ำส้มคั้น
การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 สังเกตการสนทนา และการตอบคำถาม
1.2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร
2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคา ถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคา ถามได้
ทักษะที่ได้
1.ทักษะการคิดออกแบบรูปทรง
2.ทักษะการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกกรม
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการฟังการนำเสนองานของเพื่อน
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์
การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.การที่ได้ทำกิจกรรมไม้ลูกชิ้นสามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
เทคนิคการสอนของอาจารย์
1.ทักษะการคิดออกแบบรูปทรง
2.ทักษะการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกกรม
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการฟังการนำเสนองานของเพื่อน
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์
การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.การที่ได้ทำกิจกรรมไม้ลูกชิ้นสามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
ประเมินผล
ประเมินตนเอง
นั่งเรียนด้วยความตั้งใจเรียน แต่งกานเรียบร้อย และร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
มีความตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และช่วยกันตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินอาจารย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น