วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559 

 

บรรยากาศในห้องเรียน และเนื่อหาที่เรียน

          วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการเขียนชื่อของตนเองลงในกระดาษที่อาจารย์ได้ เตรียมไว้ให้ ระหว่างที่เขียนชื่อลงในกระดาษ อาจารย์ก็ได้ออกไปเขียนหน้ากระดานดำว่า มาเรียนกับไม่มาเรียนเป็นตาราง ใครที่มาเรียนก็ให้เอาชื่อตัวเองไปติดไว้หน้ากระดานที่อาจารย์ตีตารางไว้ให้ หลังจากที่เพื่อนๆเอารายชื่อของตัวเองไปติดไว้หน้าห้องเรียนกันตรบหมดทุกคน แล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาช่วยกันนับจำนวนคนที่มาเรียนว่ามีกี่คน เพื่อรที่มาวันนี้มีทั้งหมด 18 คน ที่ที่ไม่มาเรียน 2 คน ในห้องมีทั้งหมด 20 คน วิธีนี้คือการสอนเกี่ยวกับการเรื่องคณิตศาสตร์ทั้งหมด วิธีที่1การนับจำนวนคนที่มาโดยการนับรายชื่อคนที่มาจะเป็นการยับแแบเพิ่มที่ ล่ะ 1 วิธีที่ 2 การนับชื่อโดยการเขียนเลขไว้ข้างหน้าตารางเพราะใครมาก่อนก็จะให้เอารายชื่อ ไปติดไว้ก่อน เราจะได้ทั้งการนับจำนวน การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับการมาก่อนหลัง ได้เรียนเกี่ยวกับคำศัพท์คำแรกกับคำสุดท้าย รู้ค่ามากกว่าน้อยกว่าได้พื้นฐานของการลบ เรีนนรู้เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม และเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ หลังจากที่อาจารย์อธิบายการสอนเสร็จ เพื่อนๆก็จะออกมานำเสนองานที่เตรียมไว้อาทิตย์ล่ะ 3 คน เพื่อนๆจะนำเสนอเกี่ยวกับ บทความ งานวิจับ และโทรทัศน์ครู

1.บทความ นำเสนอโดยนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา
ผศ.ดรชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
         การพัฒนาเรื่องกระบวนการของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิจศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี มี 3 รูปแบบดังนี้ 
1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1-5 ได้ แต่ไม่รู้จำนวนค่าเท่าไหร่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้ แทนตัวเลข เพราะเด็กจะเข้าใจง่าย 
2.เด็กวัยอนุบาลทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
3.ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับวัยอนุบาลยังได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อัยจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีขนมอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาขะต้องเข้าใจคำว่า เพิ่ม คืออะไร และจะนำมากระบวนการคิดอย่างถูกต้อง
2. งานวิจัย นำเสนอโดยนางสาวจิรญา พัวโสภิต
การ จัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยการลงมือทำ เด็กจะเกิดความสนุกสนานเพราะการประกอบอาหารเป็นสิ่งที่เด็กชอบ และอยากทดลอง นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ ในเรื่องของด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนอีกด้วย
การทำการทดลอง 
อนุบาลชั้นปีที่2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม ต.หนองแดง จ.ขอนแก่น
ระยะเวลาในการทดลอง
ทดลอง 8 สป.ๆ3 วันๆละ1 ครั้ง ใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ 50 นาที่ รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
ระยะที่1 ขั้นเตียมก่อนการประกอบอาหาร ครูนำเข้าสู่กิจกรรม โดยใช้สื่อของจริง และรูปภาพ ให้เกิดการเปรียบเทียบ
ระยะที่2 ขั้นจัดประสบการอาหาร ให้เด็กเข้ากลุ่ม กลุ่มละ5คน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยการจัดหมวดหมูอาหาร การทำการหาร การปรุง การหั่นผัก ร่วมถึงการรู้ค่าของจำนวนด้วย
ระยะที่3 ขั้น สรุปเป็นการพูดคุยสนทนาโดยใช้คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับลักษณะของวัตถุดิบ ที่ใช้ประกอบอาหารได้ และอาจจะมีกิจกรรมให้วาดรูประบายสีและออกมาถ่ายทอดประสบการณ์หน้าขั้นเรียน
 
3. โทรทัศน์ครู นำเสนอโดยนางสาวบงกรช เพ่งหาทรัพย์
          สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝัง ความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อ การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด
หลังจากที่เพื่อนๆได้นำเสนอ บทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครูเสร็จกันครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ได้เข้าเนื้อหาการเรียนการสอนอีกรอบ ก่อนจะเรียนเกี่ยวกับเนื้อหา อาจารย์ก็พานักศึกษาร้องเพลง
เพลง สวัสดียามเช้า  
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า       อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว                  หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ           ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั้นล้า หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า     

เพลง สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก         หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ            หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย  

หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน       อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน      อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พูธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์     

เพลง  เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว       อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามั่วแชเชือน      เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน      เข้าแถวพลันว่องไว
เพลง จัดแถว
สองมือเราชูตรง     แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า    แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง 
เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ   แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหล่ะ 
เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ) 
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยูบนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี 
หลังจากที่อาจารย์สอนร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เสร็จ อาจารย์ก็สอนเข้าเนื้อหา 
คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 
  ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ
มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
-คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
-ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
-การวัดเรื่องเวลา 
 
 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
 สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
 สาระที่ 3 เลขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จัก จำนวนรูปเลขาคณิต เข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเลขาคณิตจากรูปทรง

ความรู้ที่ได้รับ 

1.เรียนรู้การสอนคณิตศาสตร์โดยการที่อาจารย์ให้เขียนชื่อเพื่อเอาไปติดกับตารางว่า มาเรียนหรือไม่มาเรียนวันนี้ ได้ความรู้้เกี่ยวกับ เราจะได้ทั้งการนับจำนวน การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับการมาก่อนหลัง ได้เรียนเกี่ยวกับคำศัพท์คำแรกกับคำสุดท้าย รู้ค่ามากกว่าน้อยกว่าได้พื้นฐานของการลบ เรีนนรู้เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม และเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ
2.ได้ความรู้จากเพื่อนที่ออกมานำเสนอ บทความ วิจัย โทรทัศน์ครูให้ฟัง เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เราได้ศึกษามาให้เพื่อนๆฟัง 
3.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการร้องเพลงคณิตศาสตร์ต่างๆ
4.คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ

ทักษะที่ได้  

       อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และให้นักศึกษานำป้ายชื่อมาติดบนกระดานในช่องที่มาเรียนโดยที่จะแยก ช่องออกเป็น 3 ช่อง ช่องแรก สมาชิกทั้งหมด ช่องสอง ที่ที่มาโรงเรียน ช่องที่สามคนที่ไม่มาโรงเรียน

 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

1.สามรถนำความรู้ที่ได้รับจการการเรียนวันนี้เอาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2..เรียนรู้การสอนคณิตศาสตร์โดยการที่อาจารย์ให้เขียนชื่อเพื่อเอาไปติดกับตารางว่า มาเรียนหรือไม่มาเรียนวันนี้ ได้ความรู้้เกี่ยวกับ เราจะได้ทั้งการนับจำนวน การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับการมาก่อนหลังเอามาทำสื่อสอนเด็กปฐมวัยได้

เทคนิคการสอนของครู  

1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ  
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น


ประเมินผล 

ประเมินตนเอง 

        วันนี้ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกรรมต่างๆอย่างตั้งใจ รับฟังการความคิดเห็นของเพื่อนๆในการตอบคำถามอาจารย์ เข้าใจเนื้อหาของรายวิชานี้มากขึ้น

ประเมินเพื่อน 

        เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน และทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์เอามาให้ทำอย่างเต็มที่ เพื่อนๆสามรถตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้

ประเมินอาจารย์  

        อาจารย์ มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำทุกวัน และตั้งใจสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่ อาจารยอธิบายเนื้อหาต่างๆให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ นักศึกษาคนใดไม่เข้าใจอาจารย์ก็กลับมาอธิบายใหม่จนเข้าใจ



วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 

 บรรยากาศในห้องเรียน  และเนื้อหาที่เรียน

        วันนี้เรียนเกี่ยวกับการพับกระดาษให้เป็น 4 ส่วนโดยที่เราจะออกแบบการพับแบบไหนก็ได้แต่แบ่งออกเป็น 4 ส่วนที่เท่าๆกัน  การพับกระดาษของนักศึกษามีความแต่งต่างกันออกไป หลังจากที่พับกระดาษเป็น 4 ส่วนกันเสร็จทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้ชีกกระดาษออกมาเป็น 4 ส่วน แล้วเลือกแผ่นที่ดีที่สุดมา 1 แผ่น เพื่อที่จะเอามาเขียน ชื่อ นามสกุล ของตัวนักศึกษาเอง การเขียนชื่อ นามสกุลอาจารย์ให้ออกแบบการเขียนเองโดย ต้องมีคำนามหน้า เช่น นาย หรือ นางสาว โดยที่เราจะต้องแบ่งขอบกระดาษหรือช่องว่างในการเขียนให้อยู่ในระหว่างกึ่งกลาง ในระหว่างที่นักศึกษากำลังเขียนชื่อ นามสกุล อาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่า คำขวัญวันครูปีนี้ คือ อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดีมีคุณภาพ หลังจากที่นักศึกษาเขียนชื่อ นามสกุล กันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาเอารายชื่อไปติดไว้หน้ากระดานเพื่อที่จะดูการเขียนชื่อและออกแบบการเขียนชื่อว่ามีใครทำผิดกติกาไหม หลังจากที่นักศึกษาเอารายชื่อไปติดไว้หน้าห้องกันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ได้อธิบายและยกตัวอย่างคนที่เขียนผิดกติกา ใครที่เขียนผิดกติกาที่อาจารย์สั่งไว้รายชื่อนั้นก็จะโดนดึงออกมาวาง เหลือราชื่อที่เขียนถูกทั้งหมด 14 คน อาจารย์ก็ให้ตัวแทนออกลองนับว่ามีทั้งหมดกี่รายชื่อ เพราะอาจารย์จะดูการนับของนักศึกษาว่าการชี้ของนักศึกษาถูกกันไหม ถ้านักศึกษาชี้การนับไม่ถูกอาจารย์ก็อธิบายการชี้นับเลขว่าเราควรจะนับแบบไหนถึงจะเหมาะกับการสอนเด็กปฐมวัย หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายถึงการเป็นครูที่ดีให้นักศึกษาฟัง ก่อนที่เพื่อนจะออกมานำเสนอสิ่งที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ให้ การนำเสนอจะแบ่งเป็นอาทิตย์ละ 3 คน ได้แก่ 
1.บทความ 
2.วิจัย
3.โทรทัศน์ครู

1.บทความเรื่องเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
เนื้อหาที่เพื่อนมาบรรยายในวันนี้คือ คณิตศาสตร์ สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์อื่นๆโดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวนการรวมกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก เงิน และเวลา
สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล

2.วิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากสาน
เนื้อหาที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอวิจัยคือ
1.เครื่องมือ ได้แก่ แผนการจัดกิจกกรม แบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
2.การทดลอง การดเนินการวิจัยเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน กิจกรรมการสานจัดอยูในศิลปะสร้างสรรค์
3.การสังเกตที่ได้รับจากการวิจัย เด็กเรียนรู้สื่อใหม่และอุปกรณ์ที่หลากหลายหรืออุปกรณ์ที่เด็กไม่เคยสัมผัสมาก่อน กิจกรรมการสานทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสพื้นฐานตร์ได้ ด้วยตนเอง และมีพัฒนาการด้านอื่นอีกด้วย เช้น ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ และตาสัมพัธ์กัน 
4. สรุป

1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกอจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม  
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุก ด้าน พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวม

3.วีดิทัศน์ เรื่อง กิจกกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
เพื่อนได้ออกมาสรุปเนื้อหา คือ กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวัน หรือ 6 กิจกรรมหลักตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีกิจกรรมดังนี้ 
1. ปูมีขา (เคลื่อนไหวและจังหวะ) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ  
2. ต้นไม้ใกล้ตัว (เสริมประสบการณ์) พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้ และชี้แนะแนวทางให้เด็กเล็กน้อย เน้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด 
3.ใบไม้แสนสวย (สร้างสรรค์) เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ เด็กจึงเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ หรือการจัดลำดับใบไม้ 5 อันดับ โดยที่เด็กเป็นคนเลือกเอง และวาดรูปตามจินตนาการของเด็ก 
4.มุมคณิต (เสรี) การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ก้อนหิน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น 
5. เกมกระต่ายเก็บของ (กลางแจ้ง) เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ส้ม หมวก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
6.เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข

หลังจากที่เพื่อนได้ออกมาสรุป บทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครูให้ครบกันทั้ง 3 คนแล้ว อาจารย์ก็ได้สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ หัวเรื่องคือ เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
- ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆของคณิตศาสตร์ แบ่งสาระได้ 6 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เลขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

 ความรู้ที่ได้รับ

1. การพับกระดาษให้เป็น 4 ส่วนโดยที่เราจะออกแบบการพับแบบไหนก็ได้แต่แบ่งออกเป็น 4 ส่วนที่เท่าๆกัน  การพับกระดาษของนักศึกษามีความแต่งต่างกันออกไป ให้รู้เกี่ยวกับการแบ่ง หรือ จำนวนมากกว่าน้อยกว่า
2.ได้ความรู้จากเพื่อนที่ออกมานำเสนอ บทความ วิจัย โทรทัศน์ครูให้ฟัง เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เราได้ศึกษามาให้เพื่อนๆฟัง
3.ได้ความรู้เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ของคณิตศาสตร์ว่าแบ่งออกมาเป็น 6 สาระ มากขึ้นและเราจะต้องเอาไปปฏิบัติแบบใด

ทักษะที่ได้รับ

1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การจำแนกจัดหมวดหมู่ การคิดเป็นเหตุผล 
2.ทักษะทางภาษาไทย คือ การนำความรู้ที่แลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

1.สามรถนำความรู้ที่ได้รับจการการเรียนวันนี้เอาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2.สามรถนำความรู้ที่ได้รับจากการพับกระดาษเอาไปประยุกต์ใช้กับเด็กในการเรียนการสอน

เทคนิคการสอน 

1.อาจารย์จะสอนให้ลงมือทำกิจกรรมตามที่ครูกำหนด นักศึกษาก็จะเกิดการเรียนรู้ขณะที่ทำ มีทักษะการคิดที่รวดเร็วมากขึ้น หลังจากนั้นอาจารย์จึงสรุป  ว่าได้อะไรจากการทำกิจกรรม 
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย

ประเมินผล 

ประเมินตนเอง 

     วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกรรมต่างๆอย่างตั้งใจ รับฟังการความคิดเห็นของเพื่อนๆในการตอบคำถามอาจารย์ เข้าใจเนื้อหาของรายวิชานี้มากขึ้น

ประเมินเพื่อน 

    เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน และทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์เอามาให้ทำอย่างเต็มที่ เพื่อนๆสามรถตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้

ประเมินอาจารย์  

   อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำทุกวัน และตั้งใจสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่ อาจารยอธิบายเนื้อหาต่างๆให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ นักศึกษาคนใดไม่เข้าใจอาจารย์ก็กลับมาอธิบายใหม่จนเข้าใจ





วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 

วันพุธ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559  

 

 บรรยากาศในการเรียน และเนื้อหาที่เรียน

        บรรยากาศในการเรียนของวันนี้อาจารย์ได้ให้ไปหยิบกระดาษเพื่อที่จะแจกให้กับเพื่อนๆคนล่ะแผ่น วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาหยิบกระดาษคนล่ะ 1 แผ่น และให้เลือกกระดาษข้างที่วางเปล่า ใครหยิบได้แล้วก็ส่งต่อให้เพื่อนหยิบ วันนี้เป็นการเรียนที่สนุกสนาน ไม่เครียด อาจารย์ยิ้มแย้มตลอด เป็นกันเอง ทำให้นักศึกษาทุกคนเรียนอย่างสนุกสนาน ตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ดี คำถามที่อาจารย์ถามในวันนี้คือ คณิตศาสตร์หมายถึงอะไร  

สาระที่ได้รับ

          คณิตศาสตร์หมายถึง การคิดสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา และการคิดอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น วัน เดือน ปี เวลา ตัวเลข อายุ ความเร็ว ลำดับ การซื้อของแต่ละวัน การใช้เงิน เป็นต้น คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราเราอยู่กับคณิตศาสตร์ทุกๆวันเพราะในชีวิตประจำวันเราต้องมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ  คณิตศาสตร์และภาษายังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้

การทำมายแม็บการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.คณิตศาสตร์

-ความหมาย

-ความสำคัญ

-สาระ

-ทักษะ

-ประโยชน์

2.เด็กปฐมวัย

-ความหมาย

-พัฒนาการ

-วิธีการเรียนรู้

3.การจัดประสบการณ์

-หลักสูตร

-หลักการจัดประสบการณ์

-แนวทาง

-แผน,การนำไปใช้

 -ผู้ปกครอง

-สื่อ

ทักษะที่ได้รับ

1.การแจกกระดาษให้เพื่อนจนครบหมดทุกคน แล้วก็ดูว่ากระดาษพอสำหรับทุกคนไหม ถ้าได้ครบกันหมดทุกคน แล้วก็ดูว่าที่กระดาษเหลือเพราะคนน้อยกว่ากระดาษ หรือกระดาษมากกว่าคน การเรียนแบบนี้เป็นการเรียน มากกว่า น้อยกว่า ได้ 

2.ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับคณิตศาสตร์หมายถึงอะไร เพื่อนๆตอบกันได้หลายรูปแบบเพื่อแชร์ความรู้ให้เพื่อนๆคนอื่นที่ไม่รู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้รู้เรื่องคณิตมากขึ้น

3.ได้ทำมายแม็บเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าแบ่งออกเป็นกี่แบบ มีอะไรบ้าง

การนำไปประยุกต์ใช้ 

      ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากขึ้น และการนำคณิตศาสตร์เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี และได้เรียนรู้ว่าคณิตศาสตร์อยู่รอบๆตัวเราทุกอย่าง เราสามารถเอาสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเราได้ดีขึ้น

เทคนิคการสอนของครู

1.อาจารย์ให้หยิบกระดาษไว้1แผ่นและส่งต่อให้เพื่อนๆต่อไป เป็นการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่อง มากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น

2.อาจารย์ได้ตั้งคำถามว่า คณิตศาสตร์หมายถึงอะไร เพื่อที่จะให้นักศึกษาตอบคำถามก่อนเรียน

3.อาจารย์ยกตัวอย่างที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้นักศึกษาฟัง พร้อมอธิบายเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

ประเมินผล 

ประเมินตนเอง 

      ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย

ประเมินเพื่อน 

       เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้

ประเมินอาจารย์  

       อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อะิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ

 

 

 

สรุป บทความ 

เรื่อง เลขคณิตคิดสนุก แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
        อ.สุรัชน์ กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
ให้พ่อแแม่และเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด  หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ   นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า  การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ
สรุป 
  "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น"






วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป งานวิจัย

(ผู้ทำการวิจัย กัญญนันทน์  กิตติ์ชนะภิรมน์)

บทที่ 1 บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

จากความสำคัยของคณิตศาสตร์ หนังสือ และสภาพปัญหาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาซึ่งเป็นครูสอน ในระดับปฐมวัย ได้มองเห้นปัญหาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคริตศาสตร์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลในภาคเรียนที่ผ่านมา ซึ่งการเรียนแบบท่องจำไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ดังนั้นหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์จึงเป็นสื่อกึ่งรูปธรรม ที่จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนา และเตรียมความพร้อมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เด้กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โรงเรียนบ้านแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในระดับปฐมวัย หากเด็กมีพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยที่ไม่ดี ก็จะทำให้เด้กไม่รู้จักตัวเลขและคุณค่าของตัวเลข ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กในระดับชั้นที่สูงต่อไป โดยหนังสือภาพทั้ง 10 เล่ม จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยวางรากฐานให้เด็กได้มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0-9 สำหรับเด็กปฐมวัย 

2.ศึกษาการเตรียมพร้อมทางคณิตศาสตร์ การรู้ค่าของตัวเลข 0-9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ

3.ศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กนั้น จะต้องอาศัยปัจจัยหลายๆประการที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวมยอด และสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความเข้าใจที่คงทน เช่น การเอาใจใส่ของครูผู้สอน ครูมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการวัดผลและประเมินผล ดังนั้นการสร้างสื่อประกอบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จึงมีความสำคัญที่ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัมนาการทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น ซึ่งการสร้างหนังสือภาพ จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมในคณิตศาสตร์ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การให้เด็กได้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจะช่วยทำให้ครูทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็กต่อสิ่งนั้นๆว่า เด็กมีความคิดเห็นอยู่ในระดับใด

บทที่ 3

วิธีดำเนินการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการสร้างหนังสือภาพเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยโดยกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1.กลุ่มเป้าหมาย เป็กเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ที่กำลังเรียนในภาคเรียน2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดลำพูน เขต 2 จำนวน 18 คน
2.เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 
2.1หนังสือภาพที่เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
2.2แผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
3.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
4.การเก็บรวบรวมข้อมูล
5.การวิเคราะห์ข้อมูล
6.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1.การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0-9 สำหรับเด็กปฐมวัย 
2.ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ใช้หนังสือภาพ นักเรียนมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ซึ่งทุกคนผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนที่กำหนดไว้
3.ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือภาพทั้งสามด้านในภาพรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก 

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การคิดครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่อง การรู้ค่า ของตัวเลข 0-9 สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลเตรียมความพร้อม
1.หนังสือภาพที่เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าตัวเลข 0-9 จำนวน 10 เล่ม
2.แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมคณิตศาตร์ จำนวน 14 แผ่น แผ่นล่ะ 60 นาที
3.แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ชุด
4.แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จำนวน 1 ชุด

อภิปรายผล

การศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาผลการเรียนเตรียมความมพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0-9 ของเด้กปปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อสื่อภาพ

การนำไปประยุกต์ใช้

จากที่ดิฉันได้อ่านงานวิจัยและสรุปผลแล้ว เราสามารถนำงานวิจัยที่ศึกษานี้ไปใช้ได้จริงโดยเราสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัย เราสามารถนำผลวิเคราะห์ของวิจัยนี้้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย








  สรุป โทรทัศน์ครู

(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ)

สรุปจากเรื่อง > การใช้หุ้นมือ Early Years : Using Puppets

          จากที่ดิฉันได้ดูโทรทัศน์ครู ทำให้ได้รู้ว่าปฐมวัยมีความสนุกสนานในการนำหุ่นกระบอกมาใช้ โดยสามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี โดยครูผู้สอนเริ่มจากแนะนำให้นักเรียนในชั้นเรียน ได้รู้จักหุ่นกระบอกก่อน ผู้สอนจำเป็นต้อง สร้างความคุ้นเคยกับหุ่นกระบอกให้ดี หรือฝึกว้อมหน้ากระจกก่อนที่จะนำเสนอให้เด็กๆได้ดู และดิแันได้เห็นปฏิกิริยาของเด็กๆที่มีต่อหุ่นกระบอกที่ครูนำไปแสดงที่โรงเรียนเซนต์จอห์นเฟิร์สทเป็นครั้งแรก จากนั้นจะได้เห็นหุ่นกระบอกที่ขาดทักษะการนับเลข และต้องการให้เด็กๆได้ช่วยกันสอนวิธีนับเลข นี้ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะสอนเด็ก หุ่นกระบอกถือว่าเป็นสื่อกระตุ้นทักษะด้านสุขศึกษา โดนที่นักเรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ  เช่น การใช้ผ้าเช็ดหน้า การไม่เข้าไปขัดจังหวะ หรือทำรุนแรงต่อผู้อื่น รวมทั้งการพัฒนาความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ จินตนาการและการสื่อสาร

 

           การใช้หุ่นมือมาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนเป็นเรื่องดี มาก เพราะการใช้สื่อเป็นตัวประกอบในการเรียนทำให้เด็กมีความสนใจมากขึ้น ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก จากเด็กที่ไม่ค่อยพูดก็ทำให้เด็กพูดมากขึ้น ซึ่งการใช้หุ่นมือมาช่วยในการเรียน การเล่านิทาน หรือกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เด็กได้รับพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน คือด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และด้านสติปัญญา จากการที่ดูวิดีโอไปแล้ว เราสามารถนำไปปฎิบัติ หรือนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้

 การนำเอาไปประยุกต์ใช้

-การใช้หุ่นมือมาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนเป็นเรื่องดีมาก เพราะใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนทำให้เด็กกล้าพูดกล้าแสดงออก และมีความสนใจในการทำกิจกรรม ดังนั้นในการจัดกิจกรรมเราควรที่จะประดิษฐ์สื่อให้ดีและดึงดูดความสนใจให้เด็กรู้สึกอยากเล่น
-การใช้หุ่นมือมาช่วยในการเรียน การเล่านิทาน หรือกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เด็กได้รับพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน จากการที่ดูวีดีโอไปแล้ว เราสามารถนำไปปฏิบัติ หรือนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้จริง
-การใช้หุ่นมือในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสื่อการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก และครูมีการเชื่อมโยงการการหุ่นมือในชีวิตประจำวัน เด็กได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา ฝึกให้เด็กได้จินตนาการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- คุณครูสามารถใช้หุ่นมือในการบูรณาการในการสอนได้ทุก เรื่องเช่นคณิตศาสตร์ การใช้ชีวิตประจำวัน เพราะหุ่นมือสามารถดึงดูดความสนใจจากเด็กได้ดี ในกรณีที่เด็กไม่ค่อยกล้าพูด กล้าแสดงออก




วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธ ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559 

 

        วันนี้เป็นการเรียนวันแรกของรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย บรรยากาศภายในห้องเรียนรู้สึกครึกครื้นมาก  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปหยิบกระดาษมาเพื่อแจกให้เพื่อนๆ อาจารย์ได้กำหนดว่ากระดาษ 1 แผ่น ให้แบ่งได้3 คน ให้แบ่งเป็นชิ้นสามแผ่นเท่าๆกัน หลังจากที่แบ่งกระดาษกันได้ครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้เขียนลักษณะรูปร่างที่เด่นของตัวเองลงไป พร้อมจังหวัดของตัวเอง เพื่อที่อาจารย์จะสังเกตว่าเป็นใคร โดยไม่ต้องเขียนชื่อลงในกระดาษ หลังจากที่เพื่อนๆเขียนกันเสร็จครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็เริ่มสังเกตรูปร่างลักษณะที่นักศึกษาเขียนลงไปในดาษแล้วก็เริ่มทายแต่ละคนจนครบหมดทุกคน หลังจากนั้นอาจารย์ก็เริ่มถามนักศึกษาเคยมีพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมามากน้อยเพียงใด

ความรู้ที่ได้รับ

        อาจารย์ได้อธิบายการจัดประสบการ์ณคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การคำนวณการใช้ตัวเลข การสื่อสาร  การใช้เทคโนโลย์

 ทักษะ

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบ่งออกได้

-การจัด

-ประสบการณ์

-เด็กปฐมวัย

-คณิตศาสตร์

การนำความรู้เอาไปประยุกต์ใช้ 

        สามารถเอาการสอนที่ครูสอนในวันนี้ เอามาสอนเป็นเกมส์คณิตศาสตร์จากกระดาษมาสอนให้เด็กๆได้ระดมสมองในการแบ่งกระดาษว่ากลุ่มไหนจะแบ่งกันได้เสร็จเป็นกลุ่มแรก โดยที่ใช้ตัวเลขมากขึ้น

เทคนิคการสอน

        อาจารย์สอนโดยการให้ฟังอาจารย์อธิบายเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและมอบหมายให้นักศึกษากลับไปทำบล็อกและมอบหมายงาน1ชิ้นเพื่อให้นักศึกษากลับไปทำและออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนในอาทิตย์ต่อๆไป

การประเมิน

ประเมินตนเอง 

ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีการพูดคุยเล็กน้อยในเวลาเรียน

ประเมินเพื่อน

 เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังในขณะที่อาจารย์กำลังสอน มีพูดคุยบ้างเล็กน้อย ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์กันดีมาก

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีความเป็นกันเอง อธิบายการเรียนการสอนได้ชัดเจน