วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง วันศุกร์ที่  26 กุมภาพันธ์ 2559

 อทิย์ยุค 


วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที 7 

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 

บรรยากาศในห้องเรียนและเนื้อหาการเรียน 

          วันนี้อากาศดีท้องฟ้าครึ้มเหมือนฝนจะตก อาจารย์ไลน์มาบอกนักศึกษาว่าวันนี้อาจจะเข้าช้าหน่อยเพราะวันนี้อาจารย์ต้องไปร่วมเปิดงานวิชาการ นักศึกษาก็มาตรงเวลาอาจจะมีบ้างคนที่มาช้าแต่ก็สายแค่ 10-15นาที นักศึกษามานั่งรออาจารย์สักพักอาจารย์ก็มา อาจารย์รีบเคลียร์ธุระเพราะกลัวนักศึกษารอนานจึงรีบเดินมาอย่างรวดเร็วด้วยษาความตั้งใจที่จะสอนนักศึก พอทุกอย่างเข้าทีอาจารย์ก็เริ่มการสอนนักศึกษาด้วยการนำไม้ลูกชิ้นขึ้นมาพร้อมแจกดินน้ำมันให้นักศึกษาคนละก้อน ไม้ลูกชิ้นที่อาจารย์ให้นักศึกษานำกลับไปตัดแบ่งเป็น 3 ส่วน เพื่อที่จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงในวันนี้ ไม้แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ไม้ยาวจำนวน 6 ไม้ ไม้กลางจำนวน 6 ไม้ ไม้สั้นจำนวน 6 ไม้ อาจารย์จะเป็นคนกำหนดให้นักศึกษาเอาไม้มาต่อกันเป็นรูปส่วนต่างๆ

กิจกรรมต่อไม้ลูกชิ้นให้เป็นรูปทรงต่างๆ 
1.อาจารย์จะเป็นคนกำหนดว่าให้ต่อเป็นรูปทรงอะไร อาจารย์กำหนดต่อเป็นรูปสามเหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามจินตนาการของนักศึกษาแต่รูปต้องเป็นสามเหลี่ยมเท่านั้น





2.หลังจากที่นักศึกษาทุกคนทำเป็นรูปสามเหลี่ยมเสร็จกันครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็กำหนดให้นักศึกษาต่อเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามจินตนาการนักศึกษา



 3. หลังจากที่ต่อเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมเสร็จกันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็กำหนดโจทย์ใหม่คือ ต่อให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามจินตนาการนักศึกษา



4. ต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมกันเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ต่อเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบใดก็ได้ตามใจและจินตนาการของนักศึกษา แต่ระหว่างการต่อมีข้อขัดข้องคือไม้ที่จะทำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมต่างๆทำไม่พอ อาจารย์เลยให้จับคู่ 2 คน เพื่อที่จะเอาไม้มารวมกันแลช่วยกันคิด




การทำกิจกรรมการต่อไม้ลูกชิ้นจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนการวางแผนก่อนจะลงมือปฏิบัติ
1.เราคิดว่าเราจะทำรูปทรงไหนแบบไหน
2.ดูขนาดไม้ให้เท่ากัยเพื่อที่จะเอามาประกอบโครงสร้างรูปทรงต่างๆ
3.ลงมือปฏิบัติ

      หลังจากที่อาจารย์ได้สอนเสร็จแล้ว ต่อไปก็คือหน้าที่ของนักศึกษาที่จะต้องออกมานำเสนอ บทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู ของแต่ละอาทิตย์


การนำเสนอบทความ นางสาวพรประเสริฐ  กลับผดุง 
  บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ
บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียน พระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์  
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็น เรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง 
1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ 
การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็น เรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง


การนำเสนองานวิจัย นางสาวณัฐณิชา  ศรีบุตรตา
สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์คผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผู้ควบคุม  ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์กลุ่มตัวอย่าง ที่ ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที       ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านอนุกรม



(วันนี้นางสาวภธรธร  รัชนิพนธ์ ไม่สบายเลยขออนุญาติอาจารย์เพื่อที่จะนำเสนอโทรทัศน์ครูในอาทิตย์หน้า)



การนำเสนอวิจัยเพิ่มเติม ของนางสาวศิริพร  ขมิ้นแก้ว
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ของ ศุภนันท์ พลายแดง
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2553

        การวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
ประกอบอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร

กลุ่มตัวอย่าง
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี
ที่กา ลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพ
ที่ 34 อา เภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จา นวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกจากเด็กที่มี
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่า จากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จำนวน 18 แผน
2. แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ

ระยะเวลาในการทดลอง
        การทดลองครั้งนี้กระทำ ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง
6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา
1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น
     - กิจกรรมการประกอบอาหาร
ตัวแปรตาม
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. การเปรียบเทียบ
2. การจับคู่
3. การนับจำนวน

สรุปผลการวิจัย
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก่อนและหลังการทดลอง
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .01
 

แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้ อาหารดีมีประโยชน์ เรื่อง น้าส้มคั้น

สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 1 สอนวัน พุธ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 30 นาที


สาระสำคัญ
          การเรียนคณิตศาสตร์ เด็กควรจะได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกับเปรียบเทียบ เรียงลำดับ
การวัด การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การนับก่อนที่จะเรียนเรื่องตัวเลข และวิธีคิดคำนวณ ซึ่งการจัด
กิจกรรมการประกอบอาหารในครั้งนี้นำเอาผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก คือส้ม มาใช้ในการจัดกิจกรรมซึ่ง
นอกจากเด็กๆ จะๆได้รับคุณค่าจากสารอาหารแล้ว ยังสามารถเกิดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ใน
เรื่องของการเปรียบเทียบ อันเปรียบเสมือนบันไดขั้นต้น ซึ่งช่วยเตรียมตัวให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่
ประสบการณ์พื้นฐานต่อไป

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เด็กสามารถเปรียบเทียบปริมาณของน้า ส้มที่แตกต่างกันได้

สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้
- การปฏิบัติตนในการประกอบอาหาร
2. กิจกรรมสำคัญ
- การประกอบอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

เนื้อหา
1. ประโยชน์ของส้ม
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การเปรียบเทียบ

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กทุกคนปิดตา และให้ชิมสิ่งที่ครูเตรียมไว้ในจานบนโต๊ะที่ละคน หลังจาก
ชิมครบทุกคนแล้ว ครูถามว่าคืออะไร เด็กช่วยกันตอบ ครูหยิบบัตรภาพและบัตรคำเฉลยส้ม
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของส้ม โดยใช้คำถามดังนี้
    2.1 เด็ก ๆ คิดว่าส้มมีประโยชน์ อย่างไรบ้าง
    2.2 ครูหยิบผลส้มออกมาใส่ตะกร้าให้เด็ก ๆ ช่วยนับจำนวนผลส้ม ทั้งหมดและถามว่ามีกี่ผล และส้มนอกจากจะรับประทานได้แล้วยังสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
3. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงการนำส้มมาทำน้ำส้มคั้น ครูนำวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆให้เด็กได้รู้จักและสัมผัสกันทั่ว
4. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหาร
การทำน้ำส้มคั้น เช่นมีข้อตกลงดังนี้
    4.1 เด็ก ๆ ต้องรู้จักอดทนรอคอย และมีระเบียบวินัย
    4.2 ไม่พูดคุยเสียงดัง ในระหว่างทำกิจกรรม
    4.3 ไม่ทำวัสดุ อุปกรณ์ เสียหาย และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันเก็บ
    4.4 ต้องเคารพกฎกติกาในการประกอบอาหารโดยทำอย่างระมัดระวัง และช่วยเหลือกันและกัน
ขั้นดำเนินการ
1. เด็ก ๆ เข้าแถวรอรับอุปกรณ์ วัสดุ ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำน้ำส้มคั้น
2. ครูแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะเตรียมส้มและคั้น กลุ่มที่ 2 จะรับไปปรุงแต่งรสและแจกจ่ายเพื่อนๆ เพื่อชิม โดยครูคอยให้คำแนะนา ชี้แนะ
3. เมื่อได้น้ำส้มมาแล้ว ครูเตรียมแก้วใสที่มีรูปทรงเดียวกันมาทั้งหมด 6 ใบ แล้วรินน้ำส้มใส่ในแก้ว ซึ่งจะใส่ในปริมาณที่เท่ากันเป็นคู่ ๆ จากนั้นวางสลับกัน ติดหมายเลข 1-6 ที่แก้ว
ครูให้ตัวแทนกลุ่มทั้งสองกลุ่มออกมา จับคู่แก้วที่มีปริมาณน้า ส้มเท่ากัน ทีละกลุ่ม ให้เด็กที่เหลือ
ช่วยกันเป็นกรรมการและปรบมือชื่นชมกลุ่มที่ทำได้ถูกต้อง
4. หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเด็ก ๆ ร่วมกันเก็บอุปกรณ์ และร่วมกันทำความสะอาด
บริเวณที่ทำกิจกรรม
ขั้นสรุป
1. ครู และเด็กร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของน้ำส้มคั้น
2. ครูกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเด็กแต่ละคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง

สื่อการเรียนรู้
1. ภาพส้ม
2. บัตรคำ ส้ม ป้ายตัวเลข 1-6
3. ผลส้ม
4. แก้วใส 6 ใบ และ อุปกรณ์ ส่วนผสมในการทา น้ำส้มคั้น

การวัดและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 สังเกตการสนทนา และการตอบคำถาม
1.2 แบบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างปฏิบัติกิจกรรมการประกอบอาหาร
2. เกณฑ์การวัดผล
1 หมายถึง เด็กสามารถตอบคา ถามได้
0 หมายถึง เด็กไม่สามารถตอบคา ถามได้



ทักษะที่ได้

1.ทักษะการคิดออกแบบรูปทรง
2.ทักษะการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกกรม
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการฟังการนำเสนองานของเพื่อน
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์

การนำเอาไปประยุกต์ใช้

1.การที่ได้ทำกิจกรรมไม้ลูกชิ้นสามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง

เทคนิคการสอนของอาจารย์

1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ   
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
ประเมินผล
 ประเมินตนเอง
 นั่งเรียนด้วยความตั้งใจเรียน แต่งกานเรียบร้อย และร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
 มีความตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และช่วยกันตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินอาจารย์

แต่งกายสุภาพ มาตรงต่อเวลา มีวิธีการสอนที่ดีมากและสนุกสนาน และตั้งใจสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่



สรุปคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย










 

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  

 บรรยาการในห้องเรียนและเนื้อหาที่เรียน

           วันนี้อากาศเย็นสบายน่านอนมากๆเลยค่ะ บรรยากาศดี ท้องฟ้าสดใส พอนักศึกษามากันครบแล้วอาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาตีตาราง 2 ตาราง ช่องตารางละ 1นิ้ว ตารางที่ 1 ให้ตี 10 ช่อง 2 บรรทัด  ตารางที่ 2 ให้ตี 10 ช่อง 3 บรรทัด เมื่อทำตารางเสร็จแล้วให้นักศึกษา แรเงาในตารางที่ 1 โดยที่แรเงาได้เพียง 2 ช่อง เท่านั้น ห้ามแรเงาให้แต่ละช่องติดกัน ให้นักศึกษาคิดว่าจะแรเงายังไงให้ได้รูปมากที่สุด ตารางที่ 2 ให้นักเรียนแรเงาช่องในตารางจำนวน 3 ช่อง โดยห้ามแรเงาให้แต่ละช่องติดกัน เราสามารถเพิ่มตารางได้หากไม่พอตามช่องที่เราจะแรเงา

นี้คือภาพที่ฉันได้แรเงาไว้



หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆที่ต้องออกมานำเสนอบทความ วิจัย โทรทัศน์ ครูออกมานำเสนอเหมือนๆทุกอาทิตย์ อาทิตย์นี้ดิฉันที่ต้องนำเสนอบทความ แล้ววันนี้ดิฉันก็เป็นคนที่นำเสนอเป็นคนแรก

 
บทความที่ดิฉันเอามานำเสนอ
 เรื่อง เลขคณิตคิดสนุก แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน
จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

        อ.สุรัชน์ กล่าวว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ถ้ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
ให้พ่อแแม่และเด็กทำเยลลีด้วยกัน เด็กก็จะได้เรียนรู้เรื่องทักษะการชั่ง การตวง การวัด  หรือชักชวนลูกไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ การทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ   นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า  การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ
สรุป 
  "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น"


นำเสนอโทรทัศน์ครู นางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์ เอามานำเสนอเพิ่มเติมเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
วิดีโอ เรื่อง ลูกเต๋ากับการเรียนรู้
ของครู นิตยา ถาชัย ครูประจำชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านยางขาม นำความคิดนี้มาจากโทรทัศน์ครูและนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน โดยหลักการของครูคือ การใช้ลูกเต๋าเพื่อเป็นสื่อใสการเรียนรู้ของเด็กและนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งในของจะสาธิตการสอนได้ 2 อย่างคือ 1 เรื่องจำนวนคู่-จำนวนคี่ โดยครูให้เด็กแต่ล่ะคนโยนลูกเต๋าและให้เด็กนับจำนวนบนลูกเต๋าว่ามีจำนวนเท่าใดและนำไปเขียนบนกระดานโดยบนกระดานจะมีตารางซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งของจำนวนคู่และจำนวนคี่เมื่อเด็กโยนเสร็จแล้วครูก็จะถามเด็กว่านี่คือเลขอะไรและเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ เรื่องที่ 2 คือเรื่องการบวกเลขอย่างง่ายโดยการใช้ลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกันและให้เด็กนับจำนวนว่าแต่ล่ะลูกมีจำนวนเท่าใด และนำมาบวกกันจากนั้นครูและเด็กก็ร่วมกันแต่งโจทย์ปัญหาอย่างง่ายขึ้นมา เช่น แม่มีแมวอยู่ 3 ตัว พ่อซื้อมาอีก 4 ตัว ตอนนี้แม่มีแมวทั้งหมดกี่ตัว
ซึ่งวีดิโอนี้จะสรุปได้ว่า เด็กจะได้รับความรู้จากสื่ออุปกรณ์ที่ครูเตรียมมาให้ได้อย่างเห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้นและกิจกรรมในครั้งนี้บังให้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน รวมไปถึงสร้างความแข็งแรงในด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอีกด้วย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์มาก


 (ส่วนโทรทัศน์ครูและงานวิจัยของอาทิตย์นี้อาจารย์ให้ไปหาเพิ่มเติมใหม่เพื่อที่จะเอามานำเสนอให้เพื่อนฟังอาทิตยืหน้า)

ทักษะที่ได้

1.ได้รับทักษะการสอน แบบ  Project Approach มาปรับใช้ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์
2. ทักษะการคิดวิเคราะห์
3.ทักษะการนำเสนอบทความ
4.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
5.ทักษะการออกแบบตาราง และการแรเงา

 การนำเอาไปประยุกต์ใช้

1.สามารถนำความรู้และแนวทางการสอนมาปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
3.สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง

เทคนิคการสอนของครูผู้สอน

1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ   
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
 
 ประเมินผล

ประเมินตนเอง

นั่งเรียนด้วยความตั้งใจเรียน แต่งกานเรียบร้อย และร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

 ประเมินเพื่อน 

มีความตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และช่วยกันตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินอาจารย์

แต่งกายสุภาพ มาตรงต่อเวลา มีวิธีการสอนที่ดีมากและสนุกสนาน และตั้งใจสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่






วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 

 

 บรรยาการในห้องเรียนและเนื้อหาที่เรียน

           วันนี้อากาศดีมากท้องฟ้าปลอดโปร่ง  เริ่มต้นการเรียนด้วยการเขียนชื่อของตนเองลงในกระดาษแข็งที่อาจารย์ได้เตรียมไว้ให้แล้ว ระหว่างที่เขียนชื่อลงในกระดาษ อาจารย์ก็ได้ออกไปเขียนหน้ากระดานเป็นตารางการนำเสนอข้อมูลการตื่นนอน อาจารย์จะถามว่าใครตื่นก่อน 07.00 น.ใครตื่น 07.00 น. พอดี  และใครตื่นหลัง 07.00 น. ขึ้นไป ให้เอารายชื่อที่เขียนไว้ให้เอาไปติดไว้หน้าชั้นเรียนที่ช่องตารางที่อาจารย์ได้วาดเป็นตารางไว้ให้ หลังจากที่นักศึกษาทึกคนเอารายชื่อไปติดกันครบหมดทุกคนแล้ว  อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันนับคนที่ตื่นนอนก่อน 07.00 น. มีทั้งหมด 9 คน ส่วนคนที่ตื่น 07.00 น.ไม่มีสักคน   คนที่ตื่นหลัง 07.00  มีทั้งหมด 11 คน รวมไปแล้วมีนักศึกษาทั้งหมด 20 คน หลังจากนั้นอาจารย์ก็สอนเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยว่า ถ้าเด็กเขียนตัวเลขไม่ได้แต่เด็กเข้าใจว่าเลขนั้นคือเลขอะไร เราควรใช้ภาพสื่อสารกับเด็กเพราะเด็กจะเข้าใจมากขึ้น วิธีนี้คือการสอนเกี่ยวกับการเรื่องคณิตศาสตร์ทั้งหมด วิธีที่1การนับจำนวนคนที่มาโดยการนับรายชื่อคนที่ตื่นนอนจะเป็นการนับแบบเพิ่มที่ล่ะ 1การเรียนของวันนี้ เราจะได้ทั้งการนับจำนวน การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับการมาก่อนหลัง ได้เรียนเกี่ยวกับคำศัพท์คำแรกกับคำสุดท้าย รู้ค่ามากกว่าน้อยกว่าได้พื้นฐานของการลบ เรีนนรู้เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม  หลังจากที่อาจารย์อธิบายการสอนเสร็จ เพื่อนๆก็จะออกมานำเสนองานที่เตรียมไว้อาทิตย์ล่ะ 3 คน เพื่อนๆจะนำเสนอเกี่ยวกับ บทความ งานวิจับ และโทรทัศน์เหมือนทุกๆอาทิตย์ การที่เราได้นำเสนอสิ่งที่เราได้เตรียมมาเป็นสิ่งที่ดีเพราะเราจะได้ความรู้เพิ่มเติมในคณิตศาสตร์
หลังจากที่เพื่อนๆทุกคนได้นำเสนอ บทความ งานวิจัย และโทรทัศน์ เสร็จกันหมดแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำเพื่อที่จะให้นักศึกษาที่มานำเสนอในวันนี้ กลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติม  เพื่อนำเอามาสรุปให้เพื่อนๆฟังใหม่ในอาทิตย์หน้า หลังจากนั้้นอาจารย์ก็ทบทวนเพลงต่างๆที่ได้สอนเราเมื่ออาทิตย์ที่แล้วให้นักศึกษาทบทวนโดยการร้องเพลงไปพร้อมๆกันกับอาจารย์ หลังจากนั้นอาจารย์ก็เอาเพลงใหม่เอามาให้นักศึกษาได้ร้องไปผพร้อมๆกัน 









ความรู้ที่ได้รับ
            การร้องเพลง บวก ลบ เสร็จอาจารย์ก็ให้แต่งเพลงบวกลบใหม่ โดยแบ่งเป็นแถวตามที่เราได้นั่งเรียน ให้นักศึกษาแต่ละแถวช่วยกันแต่งเพลง บวก ลบ ใหม่ โดยให้เอาทำนองเดิม 

เพลง บวก ลบ 
บ้านฉันมีแก้วน้ำสีใบ      ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ     ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ    หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ      ดูซิเออเหลือเพียงแค่สีใบ

เพลง บวก ลบ (ที่เราได้แต่งกันขึ้นมาใหม่)
บ้านฉันมีหมวกสีใบ      ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆซิเออ     ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีหมวกเจ็ดใบ    หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาหมวกแล้วไม่เจอ      ดูซิเออเหลือเพียงแค่สีใบ



หลังจากนั้นก่อนหมดเวลาเราก็เรียนเกี่ยวกับ ลักษณะหลักสูตรที่ดี มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1.เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
2.เน้นการเรียนรูภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
3.แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
4.ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั้นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5.ส่งเสริมใหเด็กเกิดการเรียนรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6.เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
7.เปิดให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

ทักษะที่ได้รับ 

-ทักษะการนับเลข
-ทักษะการทำตารางการตื่นนอนของนักศึกษา
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการร้องเพลงคณิตศาสตร์
-ทักษะการเปรียบเทียบ
-ทักษะการตอบคำถามอาจารย์

การนำเอาไปประยุกต์ใช้ 
 
-สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
-สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ได้
-สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง

เทคนิคการสอนของครู  

1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ  
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
ประเมินผล

ประเมินตนเอง

นั่งเรียนด้วยความเรียบร้อยแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกรรมต่างๆ


ประเมินเพื่อน

 เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน และทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์เอามาให้ทำอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์

แต่งกายสุภาพ มาตรงต่อเวลา มีวิธีการสอนที่ดีมากและสนุกสนาน และตั้งใจสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่