วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2559 

บรรยากาศในห้องเรียน 
         วันนี้อาจารย์มาเช้าเพื่อมาเตรียมความพร้อมการสอนให้นักศึกษา ห้องเรียนไม่ค่อยพร้อมกับการเรียนการสอนเท่าไหร่ เพราะห้องเรียนนี้ไม่มีกระดาษไว้ให้อาจารย์เขียนยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพชัดเจน อาจารย์สอนและอธิบายงานให้นักนักศึกษฟังอย่างตั้งใจ และขอดูงานการเขียนแผนการสอนทั้ง 5 วันของนักศึกษาแต่ล่ะุกลุ่ม อาจารย์ใก้นักศึกษาแต่ล่ะกลุ่มนั่งรวมกันเป็นกลุ่มเรียงตามวัน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ หลังจากนั้นอาจารย์ก็จะถามนักศึกษาที่เขียนแผนของวันจัทร์ว่าเขียนแผนการเรียนการสอนแบบไกนบ้าง เพื่อที่จะเอามาแชร์ของแตลกลุ่มว่า เราควรปรับเปลี่ยนแก้ไขเพิ่มอะไรบ้าง จากที่ฟังการเขียนแผนของแต่ล่ะกลุ่ม 
การเขียนแผนทั้ง 5 วัน มีหัวข้อดังนี้
1.วันจันทร์ ประเภท หรือ ชนิด
2.วันอังคาร ลักษณะ
3.วันพุธ การดูแลรักษา
4.วันพฤหัสบดี ประโยชน์
5.วันศุกร์ ข้อควรระวัง 
  
หลังจากที่อาจารย์ได้สอนเสร็จแล้ว ต่อไปก็คือหน้าที่ของนักศึกษาที่จะต้องออกมานำเสนอ บทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู ของแต่ละอาทิตย์
นำเสนอบทความ นางสาวชื่นนภา เพิ่มพูล 

เรื่อง หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำกรับเด็กปฐมวัย
ลักษณะการจัดประสบการณืคณิตศาสตร์
          การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้เด็กได้กระทำด้วยตัวเองผ่านการเล่น การได้สัมผัส เป็นต้น

หลัการจัดประสบการณืที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1.จัดให้สอดคล้องกับวัย
2.เน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเอง
3.จัดสภาพแวดพล้อมและสภาพการเรียนรู้
4.วางแผนการทำกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน
5.ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก
6.สร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก
การจักการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร
การจักการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวมยอด และทักษะพื้นฐานทางการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ในกิจกรรมเสรี

การสอนโดยใช้ศูนย์ทางคณิตศาสตร์
การสอนโดยใช้ศูนย์ทางคณิตศาสตร์จะจัดตามความเหมาะสม และจัให้สัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้ ตามความสนใจของเด็ก เช่นการทำขนม การเล่นโคลน การทดลองต่างๆเป็นต้น

การนำเสนอโทรทัศน์ครู นางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บรรยายโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
 การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัด กระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
        การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่ง ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
        จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มี ทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณ ที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนา เรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
ประสบการณ์การเรียนรู้  3  รูปแบบ คือ
1. ประสบการณ์การเรียนรู้ตามธรรมชาติ  (Naturalistic Experiences)
2. ประสบการณ์จากการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ  (Informal Learning Experiences)
3. ประสบการณ์จากการเรียนรู้แบบมี  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขอบข่ายของเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยโครงสร้าง (Structure Learning Experiences)  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็น ควรได้เรียนรู้และมีความสัมพันธ์กับหลักสูตร


ทักษะที่ได้
1.ทักษะองค์ประกอบความรู้
2.ทักษะการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกกรม
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการฟังการนำเสนองานของเพื่อน
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์
การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.การที่ได้ทำกิจกรรมจากการเรียนการสอนของวันนี้สามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัย ได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง  

เทคนิคการสอนของอาจารย์

1. บรรยายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
2. ให้นักศึกษาเรียนรู้จากวิดีโอ
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น คิดอย่างมีเหตุผล
4.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
5.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ

ประเมินตนเอง 

      ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย

ประเมินเพื่อน 

       เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้


ประเมินอาจารย์  

       อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ




วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2559 

บรรยากาศในห้องเรียน 

         วันนี้อากาศดีลมพัดเย็นสบาย วันนี้นักศึกษาต้องย้ายไปเรียนที่ตึกใหม่เพราะตึกคณะศึกษาศาสตร์กำลังจะทุบสร้างใหม่ อาจารย์เข้าสอนช้าเพราะว่าอาจารย์จะต้องไปทำบุญที่วิทยาการจักการและต้องเก็บของเคลียร์ของออกจากตึกคณะศึกษาศาสตร์ให้หมดภายในวันนี้ จึงทำให้การเรียนการสอนของวันนี้อาจจะสอนได้ไม่เต็มที่เหมือนทุกๆวัน หลังจากที่อาจารย์เก็บของเสร็จแล้วอาจารย์ก็เริ่มการเรียนการสอนของวันนี้โดยอาจารย์จะขอดูมายแม็บปิ้งของแต่ละกลุ่ม ว่าต้องมีการแก้ไขหรือปรับปรุงเพิ่มเติมอะไรอีกหรือเปล่า เพราะอาจารย์จะให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนแผน 5 วัน จากมายแม็บปิ้งที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำกันมา 
กลุ่มของดิฉันเลือกทำหัวข้อหน่วย ของเล่นกับของใช้ 

ภาพกิจกรรมการเรียน

หน่วย ผลไม้ 

หน่วย ของเล่นของใช้ 



หน่วย ยานพาหนะ 


หน่วย กล้วย
ทักษะที่ได้

1.ทักษะองค์ประกอบความรู้
2.ทักษะการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกกรม
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการฟังการนำเสนองานของเพื่อน
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์

การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง 
2.สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ได้
3.สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้

เทคนิคการสอนของครู  

1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ  
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย  3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น


ประเมินผล

ประเมินตนเอง

นั่งเรียนด้วยความเรียบร้อยแต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำกิจกรรมต่างๆ

ประเมินเพื่อน

 เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์สอน และทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์เอามาให้ทำอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์

แต่งกายสุภาพ มีวิธีการสอนที่ดีมากและสนุกสนาน และตั้งใจสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่



วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559  


บรรยากาศในห้องเรียนและเนื้อหาการเรียน 

วันนี้อากาศในห้องเรียนดีและสะอาด  อาจารย์มาสอนช้ากว่าปกตินิดหน่อยเพราะอาจารย์ต้องเก็บของออกจากห้องพักครูเพราะตึกคณะศึกาาศาสตร์กำลังจะมีการปรับปรุงสร้างขึ้นใหม่ หลังจากที่อาจารย์มาแล้วอาจารย์ก็เข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอนโดยถามนักศึกษาแต่ละคนว่าเมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่นักศึกษาหยุดไปดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ นักศึกษาได้ความรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อที่จะเอามาแชร์ให้กันฟัง กิจกรรมและสื่อที่นักศึกษาได้ไปดูงานมีทั้งหมด 6 สาระ ได้แก่
สาระที่ 1จำนวนและการดำเนินการ 
-การเปรียบเทียบ น้ำหนัก ขนาด การวัด 
สาระที่ 2 การวัด
-ครั้งแรกเอาสายวัดมาวัดก่อน หลังจากนั้นก็เอาเชือกมาวัดแทนสายวัด เพราะเราจะตำแหน่งของก้อนหินว้ามีขนาดยาว สั้น เท่ากันหรือป่าว
สาระที่ 3 เลขาคณิต
-การเรียนเกี่ยวกับรูปทรง รูปสามมิติ ใกล้ ไกล
สาระที่ 4 พีชคณิต
-จะเป็นการสอนแบบแผน
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-เป็นการนำเสนอแบบกราฟหรือคิดอะไรแล้ววาดเป็นรูปภาพ
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทรงคณิตศาสตร์
-เช่น ปลาตายและเอาปลาเอาปลาที่ตายเอาแยกออกจากกลุ่ม
หลังจากที่อาจารย์ได้สอนเสร็จแล้ว ต่อไปก็คือหน้าที่ของนักศึกษาที่จะต้องออกมานำเสนอ บทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู ของแต่ละอาทิตย์

การนำเสนอโทรทัศน์ครู  นางสาวภธรธร  รัชนิพลธ
วีดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
 มี 6 กิจกรรม 
 
1. กิจกรรม : มุมคณิต การนำสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น พืชผัก ไข่ เมล็ดพืช ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย โดยมีบัตรภาพที่กำหนดตัวเลขไว้ ให้เด็กเลือกสิ่งใดก็ได้ มาวางให้ตรงกับจำนวนในบัตรเลขนั้น
ประโยชน์จากการทำกิจกรรม
2. กิจกรรม : ต้นไม้ใกล้ตัว พาเด็กไปเรียนที่ใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียน ซึ่งจะนำใบไม้ร่วงมาเปรียบเทียบ มานับจำนวน มากกว่าน้อยกว่า โดยที่ครูจะเป็นคนกำหนดโจทย์ให้
3. กิจกรรม : เกมกระต่ายเก็บของ เป็นการเก็บของโดยการจัดอันดับ 5 สิ่ง คือ ก้อนหิน ไม้บล็อก ตะกร้า โดยวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
ทำให้เด็กเรียนรู้การใช้เงิน รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ป้ายทะเบียนรถ ตัวเลขต่าง ๆ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรมและการเรียนรู้
4. กิจกรรม : ปูมีขา เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้ว่าปูมีขา 8 ขา และก้ามปูอีก 2 ก้าม ซึ่งให้เด็กเปรียบเทียบ เรียนรู้จากการนับนิ้วมือ ให้มิือเป็นเหมือนขาของปู

5. กิจกรรม : เกมก้อนหินหรรษา เป็นการนำก้อนหิน 2 สี คือ สีขาวกับสีแดง มาเรียงตามจำนวนในบัตรภาพหรือบัตรตัวเลข 6. กิจกรรม : ใบไม้แสนสวย เช่น การจัดกิจกรรมจากการร้อยใบไม้ เริ่มจากใบไม้กลม หยัก เหลี่ยม รี หรือกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากใบไม้ให้เท่าจำนวนตัวเลขที่ครูกำหนดมาให้ หรือกิจกรรมการฉีกปะใบไม้ ลงในตัวเลขที่ครูพิมพ์ไว้ให้ โดยให้เด็กเลือกเองตามใจชอบ
การนำเสนอโทรทัศน์ครู นางสาวจิราภรณ์ ฝักเขียว
วิดีโอโทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์
โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียน รู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยากให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับ ประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้
กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่ แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ ให้เพื่อนแล้วไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือ ต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อนสามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น
กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและ ได้รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะ เล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็ก กล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำ นิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดูเพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้น แตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่าง ลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย
กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเด็กให้ เด็กช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมด ห้าตระกล้าเล็กๆ นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีก ด้วยโดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมาก น้อยจำนวนเท่ากันไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ ฟองครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง ครูถามว่าใครในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่าตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่ เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากันครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่ หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิดมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยว ม้าจะมีเนื้อสีนำ้ตาลดำส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้ รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดง ของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะ สามารถตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่
กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆได้และ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกัน ทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่ น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไป ช่วยได้เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายัง ไม่ประสานสัมพันธ์กันเด็กไม่สามารถก่ะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดี หลังจากนั้นให้เด็กลงมือตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิดประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น
การนำเสนอวิจัย ของนางสาวสุวนันท์  สายสุด
สรุปวิจัย  (แก้ไข) เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียน รู้
-ความมุ่งหมายของวิจัย
  เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
-สมมติฐานในการวิจัย
  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี พัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
-ขอบเขตการวิจัย
  นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง
-เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
-สรุปผลวิจัย
  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

-แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
หน่อย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้

มโนท้ศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง
จุดประสงค์
  สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้

กิจกรรมศิลปะ  ศิลปะค้นหา

กิจกรรมการเรียนการสอน
ขันนำ
1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้ร
ขั้นสอน
3.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะเรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
4.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากันหรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด  ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
7.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ
สรุป
ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้
สื่อ
1.ดินสอ
2.กระดาษ
3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)
ประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก



หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็แจกกระดาษเอ 4 ให้นักศึกษาคนล่ะ 1 แผ่น อาจารย์จะให้นักศึกษาทำ mind map เกี่ยวกับหน่วยที่เลือกนั้นเลือกตามสาระการเรียนรู้ 4 สาระ
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
การเลือกหัวข้อเรื่องเราจะเอาเรื่องอะไรก้ได้ที่เกี่ยวกับสิ่งรอบๆตัวเรา ให้ทุกคนเลือกมาคนล่ะ 1 หัวข้อ
ดิฉันเลือกสาระเกี่ยวกับ ธรรมชาติรอบตัว เรื่อง ดอกไม้

นี้คือตัวอย่างการทำ mind map ของดิฉัน หลังจากทำเสร็จอาจารยได้อธิบายการแตกหัวข้อแต่ล่ะหน่วย มีบางส่วนที่ต้องแก้ไข้ 
ทักษะที่ได้

1.ทักษะองค์ประกอบความรู้
2.ทักษะการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกกรม
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการฟังการนำเสนองานของเพื่อน
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์

การนำเอาไปประยุกต์ใช้

1.การที่ได้ทำกิจกรรมจากการเรียนการสอนของวันนี้สามารถเอามาปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
2.สามารถให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดอย่างไม่เป็นทางการกับกิจกรรมในชีวิต ประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง 


เทคนิคการสอนของอาจารย์

1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ   
2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย 
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น

ประเมินตนเอง 

      ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย

ประเมินเพื่อน 

       เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้


ประเมินอาจารย์  

       อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ และให้นักศึกษาทำกิจกรรมต่างๆที่ได้ความรู้แปลกใหม่เสมอ




 

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

 สื่อและกิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมทักษะทางคณิตศาสตร์ของโรงเรียนพิบูลเวศม์

 


          
        นี้คือการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดยการให้เด็กนับจำนวนเงินและรู้ค่าของจำนวนเงิน และเหรียยต่างๆของจำนวนเงินว่ามีค่าเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็ให้เด็กเขียนค่าของเงินลงในตารางว่ารูปเหรียญแต่ล่ะเหรียญมีค่าเท่าไหร่






 

         นี้คือมุมบล็อกทางคณิตศาสตร์จะมีสื่อต่างๆที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากมาย เช่น นาฬิกา บล็อกตัวเลข ลูกคิด เลขการวัดความยาว รูปทรงต่างๆ เป็นต้น




  
        นี้คือกิจกรรมการชีกแปะกระดาษ โดยครูจะมีภาพต้นส้มให้เด็กแต่ล่ะคน จะมีคณิตศาสตร์เข้าไปเกี่ยวด้วยคือ ก่อนที่จะชีกแปะลูกส้ม คือก็จให้เด็กๆนับผลส้มของตัวเองว่าผลส้มของตัวเองมีจำนวนกี่ผล


           นี้คือผลงานของเด็กๆที่โปรเจตเกี่ยวกับดินน้ำมันเสร็จแล้ว ครูเลยนำมาวางโชเพื่อเอาไว้ให้เด็กๆได้ดูกัน กิจกรรมนี้ก็เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ คือ เวลาที่จะปั่นรูปอะไรเด็กๆก็ต้องแบ่งและกะดินน้ำมันให้เหมาะสมกับรูปต่างๆที่เราจะปั่น การที่เราปั่นรูปต่างๆก็จะมีรูปทรงเข้ามาเกี่ยวด้วย  

 

 
         
          นี้คือสื่อที่ชั่งนำหนัก และนาฬิกาทราย สื่อนี้เอาไว้ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของน้ำหนักของสิ่งต่างๆที่เด็กเอามาชั่ง และเรียนรู้เรื่องของเวลา นาฬิกาทรายเหมาะกับเด้กเพราะเวลาเด็กทำกิจกรรมที่ต้องตั้งเวลาครูอาจจะไม่ใช้นาฬิกาตั้งเพราะเด็กๆอาจจะดูไม่เป็น แต่ครูอาจใช้นาฬิกาทรายบอกเวลาได้




          กิจกรรมบทบาทสมมติให้เด็กได้เล่นด้วยกัน การเล่นกิจกรรมนี้อาจจะเล่นเป็นแม่ค้าหรือคนซื้อ เราอาจจะเอากิจกรรมนี้มาเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ก็ได้
 


 การให้เด็กทำกิจกรรมนี้ก็จะให้เดกได้รู้จักจำนวนลบเลข 

 



         การระดมความคิดเป็นการเสนอความคิดของเด็กแต่ละคนที่สนใจจะศึกษาเรื่องต่างๆแล้ว ให้สมาชิกทั้งหมดในห้องร่วมกันลงความเห็นว่าควรจะเรียนเรื่องใดโดยการลง โดยครูจะนับคะแนนของเด็กที่เลือกที่จะเรียนและลงแนนในตาราง

 




 นี้คือสถิติการมาเรียนและไม่มาเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล

 โรงเรียนเน้นการจัดการสอนแบบโครงการ   Project Approach
 





โครงสร้าง

1.การอภิปราย  เด็กได้ร่วมสนทนากับเพื่อนทั้งกลุ่มย่อย ทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห้นซึ่งกันและกัน

2.การทำงานภาคสนาม  ทำงานภาคสนามในที่นี้หมายถงเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการไปศึกาานอกสถานที่

3.การนำเสนอประสบการณ์  การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตนเอง สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปราย หาหัวข้อที่สนใจการกำหนดคำถามการนำเสนอประสบการณ์ที่ตนเองได้เรียนรู้

4.การสืบค้น  การสืบค้นสามารถใช้ข้อมูลที่หลากหลายวิธีตามความสนใจของเด็ก เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด้กอาจสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว

5.การจักการแสดง  ผลงานของเด้กทั้งที่เป็นรายบุคคล รายกลุ่ม วึ่งสามรถนำมาจัดแสดงได้ทุกระยะการดำเนินการตามโครงการ

จากโครงสร้างทั้ง 5 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ขั้นที่ 1 ระยะเริ่มต้น  เป็นระยความสนใจของเด็ก กำหนดหัวข้อเรื่อง
ขั้นที่ 2 ระยะดำเนินโครงการ  เป็นระยะค้นหาคำตอบ ที่อยากรู้
ขั้นที่ 3 สรุปโครงงาน  ระยะสิ้นสุดความสนใจ การสรุปและทบทวน

จัดกิจกรรมตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 6 สาระ

สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2  การวัด
สาระที่ 3  เลขาคณิต
สาระที่ 4  พีชคณิต
สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนทางคณิตศาสตร์

ทักษะที่ได้รับทางคณิตศาสตร์

1.เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด
2.การนับ การบวก ลบเลข
3.การสังเกตและสัมภาษณ์
4.การวัด ความสั้น ยาว
5.การเปรียบเทียบ และเวลา

การจัดกิจกิจกรรมจัดครบทั้ง 6 กิจกรรม ได้แก่

1.กิจกรรมสร้างสรรค์
2.กิจกรรมเสรี
3.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
4.กิจกรรมกลางแจ้ง
5.กิจกรรมเกมศึกษา
6. กิจกรรมเคลื่อนไหว

การวัดและประเมินผล 

1.การสังเกต และสัมภาษ
2.การฟัง การดู
3.การดูผลงาน และวิเคราะห์
4.การเขียนสรุป

การนำความรู้เอาไปประยุกต์ใช้

1.การนำความรู้จากกการเรียนการสอนและการทำสื่อต่างๆมาปรับใช้กับการสอนได้
2.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและโปรเจตต่างๆเพื่อเอามาปรับใช้