บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
บรรยากาศในห้องเรียน และเนื่อหาที่เรียน
วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการเขียนชื่อของตนเองลงในกระดาษที่อาจารย์ได้
เตรียมไว้ให้ ระหว่างที่เขียนชื่อลงในกระดาษ
อาจารย์ก็ได้ออกไปเขียนหน้ากระดานดำว่า มาเรียนกับไม่มาเรียนเป็นตาราง
ใครที่มาเรียนก็ให้เอาชื่อตัวเองไปติดไว้หน้ากระดานที่อาจารย์ตีตารางไว้ให้
หลังจากที่เพื่อนๆเอารายชื่อของตัวเองไปติดไว้หน้าห้องเรียนกันตรบหมดทุกคน
แล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาช่วยกันนับจำนวนคนที่มาเรียนว่ามีกี่คน
เพื่อรที่มาวันนี้มีทั้งหมด 18 คน ที่ที่ไม่มาเรียน 2 คน ในห้องมีทั้งหมด
20 คน วิธีนี้คือการสอนเกี่ยวกับการเรื่องคณิตศาสตร์ทั้งหมด
วิธีที่1การนับจำนวนคนที่มาโดยการนับรายชื่อคนที่มาจะเป็นการยับแแบเพิ่มที่
ล่ะ 1 วิธีที่ 2
การนับชื่อโดยการเขียนเลขไว้ข้างหน้าตารางเพราะใครมาก่อนก็จะให้เอารายชื่อ
ไปติดไว้ก่อน เราจะได้ทั้งการนับจำนวน การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับการมาก่อนหลัง ได้เรียนเกี่ยวกับคำศัพท์คำแรกกับคำสุดท้าย รู้ค่ามากกว่าน้อยกว่าได้พื้นฐานของการลบ เรีนนรู้เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม และเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ
หลังจากที่อาจารย์อธิบายการสอนเสร็จ
เพื่อนๆก็จะออกมานำเสนองานที่เตรียมไว้อาทิตย์ล่ะ 3 คน
เพื่อนๆจะนำเสนอเกี่ยวกับ บทความ งานวิจับ และโทรทัศน์ครู
1.บทความ นำเสนอโดยนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา
ผศ.ดรชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ.ดรชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การพัฒนาเรื่องกระบวนการของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิจศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี มี 3 รูปแบบดังนี้
1.เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1-5 ได้ แต่ไม่รู้จำนวนค่าเท่าไหร่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้ แทนตัวเลข เพราะเด็กจะเข้าใจง่าย
2.เด็กวัยอนุบาลทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก การนับสิ่งของที่มี 2 แถว แถวหนึ่งวางห่างกัน แถวสองวางชิดกัน เขาจะบอกว่าแถวที่วางห่างกันมีจำนวนมากกว่า เพราะยาวกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยอธิบายให้ลูกฟังอย่างใจเย็นที่สุด
3.ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับวัยอนุบาลยังได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อัยจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีขนมอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาขะต้องเข้าใจคำว่า เพิ่ม คืออะไร และจะนำมากระบวนการคิดอย่างถูกต้อง
2. งานวิจัย นำเสนอโดยนางสาวจิรญา พัวโสภิต
การ
จัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน
เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยการลงมือทำ
เด็กจะเกิดความสนุกสนานเพราะการประกอบอาหารเป็นสิ่งที่เด็กชอบ และอยากทดลอง
นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้
ในเรื่องของด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ
และด้านการรู้ค่าจำนวนอีกด้วย
การทำการทดลอง
อนุบาลชั้นปีที่2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม ต.หนองแดง จ.ขอนแก่น
ระยะเวลาในการทดลอง
ทดลอง 8 สป.ๆ3 วันๆละ1 ครั้ง ใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ 50 นาที่ รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
ระยะที่1 ขั้นเตียมก่อนการประกอบอาหาร ครูนำเข้าสู่กิจกรรม โดยใช้สื่อของจริง และรูปภาพ ให้เกิดการเปรียบเทียบ
ระยะที่2
ขั้นจัดประสบการอาหาร ให้เด็กเข้ากลุ่ม กลุ่มละ5คน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
โดยการจัดหมวดหมูอาหาร การทำการหาร การปรุง การหั่นผัก
ร่วมถึงการรู้ค่าของจำนวนด้วย
ระยะที่3 ขั้น
สรุปเป็นการพูดคุยสนทนาโดยใช้คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับลักษณะของวัตถุดิบ
ที่ใช้ประกอบอาหารได้
และอาจจะมีกิจกรรมให้วาดรูประบายสีและออกมาถ่ายทอดประสบการณ์หน้าขั้นเรียน
3. โทรทัศน์ครู นำเสนอโดยนางสาวบงกรช เพ่งหาทรัพย์
สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ
ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ
อ.ธิดารัตน์จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝัง
ความรักคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน
เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว
ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อ
การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3
ตัวเด็กจะได้ทราบถึงการเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด
หลังจากที่เพื่อนๆได้นำเสนอ บทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครูเสร็จกันครบทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ได้เข้าเนื้อหาการเรียนการสอนอีกรอบ ก่อนจะเรียนเกี่ยวกับเนื้อหา อาจารย์ก็พานักศึกษาร้องเพลง
เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั้นล้า หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า
เพลง สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พูธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
เพลง เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามั่วแชเชือน เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน เข้าแถวพลันว่องไว
เพลง จัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหล่ะ
เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยูบนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี
หลังจากที่อาจารย์สอนร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เสร็จ อาจารย์ก็สอนเข้าเนื้อหา
คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ
มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
-คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
-ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
-การวัดเรื่องเวลา
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
สาระที่ 3 เลขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จัก จำนวนรูปเลขาคณิต เข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเลขาคณิตจากรูปทรง
ความรู้ที่ได้รับ
1.เรียนรู้การสอนคณิตศาสตร์โดยการที่อาจารย์ให้เขียนชื่อเพื่อเอาไปติดกับตารางว่า มาเรียนหรือไม่มาเรียนวันนี้ ได้ความรู้้เกี่ยวกับ เราจะได้ทั้งการนับจำนวน การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับการมาก่อนหลัง ได้เรียนเกี่ยวกับคำศัพท์คำแรกกับคำสุดท้าย รู้ค่ามากกว่าน้อยกว่าได้พื้นฐานของการลบ เรีนนรู้เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่ม และเรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ2.ได้ความรู้จากเพื่อนที่ออกมานำเสนอ บทความ วิจัย โทรทัศน์ครูให้ฟัง เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เราได้ศึกษามาให้เพื่อนๆฟัง
3.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการร้องเพลงคณิตศาสตร์ต่างๆ
4.คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ
ทักษะที่ได้
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และให้นักศึกษานำป้ายชื่อมาติดบนกระดานในช่องที่มาเรียนโดยที่จะแยก ช่องออกเป็น 3 ช่อง ช่องแรก สมาชิกทั้งหมด ช่องสอง ที่ที่มาโรงเรียน ช่องที่สามคนที่ไม่มาโรงเรียนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1.สามรถนำความรู้ที่ได้รับจการการเรียนวันนี้เอาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน2..เรียนรู้การสอนคณิตศาสตร์โดยการที่อาจารย์ให้เขียนชื่อเพื่อเอาไปติดกับตารางว่า มาเรียนหรือไม่มาเรียนวันนี้ ได้ความรู้้เกี่ยวกับ เราจะได้ทั้งการนับจำนวน การนับและบอกค่าได้ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับลำดับการมาก่อนหลังเอามาทำสื่อสอนเด็กปฐมวัยได้
เทคนิคการสอนของครู
1.บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ2.สอนให้เหตุและสอดคล้องกัน โดยอาจารย์จะสอดแทรกเรื่องคุณธรรมไปด้วย
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น